8/05/2552

สื่อกราฟฟิก






การออกแบบงานกราฟฟิก : Graphic Designer

บทนำ
การสร้างอนิเมชั่นหรือการออกแบบเว็บเพจนั้น ควรมีเครื่องมือในการสร้างที่ใช้งานสะดวก
และเหมาะสมกับตนเอง ดังนั้นแต่ละบุคคลก็อาจเลือกใช้โปรแกรมเสริมที่แตกต่างกันออกไป
อย่างเช่น Program Adobe Photoshop , Macromedia Dreamweaver,
Macromedia Flash แต่จะมีใครสักกี่คนที่เข้าใจวิธีการสร้างงานด้วยเครื่องมือเหล่านี้ให้ถูกกับ
จุดประสงค์ของการนำ้เสนอและมีความสวยงามเป็นที่น่้าสนใจ ดั้งนั้นข้าพเจ้าจึงได้สนใจที่จะนำ
เสนอการเรียนการสอนเรื่อง การออกแบบงานกราฟฟิก ขึ้นเพื่อให้ผู้ที่ต้องการศึกษาและพัฒนา
เว็บเพจ สามารถสร้างเว็บเพจที่มีความสวยงามและถูกต้องตามจุดประสงค์ของการนำเสนอ



ศิลปะ Arts
ศิลปะ คือศาสตร์แห่งการแสดงออกจากจินตนาการและอารมณ์ เพื่อความสุขทางใจ
" การสื่อความหมาย จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในงานศิลปะ "

คุณค่าของศิลปะขึ้นอยู่กับความหมายที่สื่อมาจากตัวศิลปินผู้รังสรรค์ผลงานไม่ว่าจะเป็นการสื่อความหมายแบบตรงไปตรงมา หรือสื่อความหมายแบบแอบแฝง
พอเรารู้ความหมายแล้ว คราวนี้ก็ลองมาเรียนรู้ประเภทของศิลปะแบบคร่าว ๆ กันสักหน่อย ศิลปะถูกแบ่งออกเป็น 2 สาขาใหญ่ ๆ ได้แก่

1. วิจิตรศิลป์ (Fine Arts)
เป็นศิลปะสาขาที่ตอบสนองต่อความต้องการทางจิตใจเป็นหลักแบ่งออกเป็น3 สาขา ย่อยคือ

ทัศนศิลป์ (Visual Arts) เป็นงานศิลปะที่สื่อให้เราได้รับรู้จากการมองเห็นได้แก่ - จิตรกรรม
ประติมากรรม - หัตถกรรม - ภาพพิมพ์
โสตศิลป์ (Audio Arts) เป็นศิลปะที่สื่อให้เราได้รับรู้จากการได้ยิน หรือ การอ่านจากตัวอักษร ได้แก่
- ดนตรี - วรรณคดี สตทัศนศิลป์ (Audio Visual Arts)เป็นศิลปะที่สื่อให้้เราได้รับรู้จากการแสดง ซึ่งปัจจุบันมีมากมายหลายแขนง เช่น ภาพยนต์ วิดีทัศน์ ซึ่งศิลปะสาขานี้มักจะต้อง พึ่งพาเทคโนโลยีเป็นหลัก


2. ประยุกต์ศิลป์
pplied Artsเป็นศิลปะสาขาที่ตอบสนองความต้องการของคนเราเป็นหลัก
- สถาปัตยกรรม (Architecture) เป็นศิลปะที่เกี่ยวจ้องกับการออกแบบพื้นที่ว่าง เพื่อตอบสนองความต้องการทางด้านการอยู่อาศัยเป็นเรื่องหลัก
- ศิลปะอุตสาหกรรม (Industrial Design) เป็นศิลปะที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ตอบสนองประโยชน์ใช้สอยของ คนเราในชีวิตประจำวัน บางครั้งก็มีเรื่องของธุรกิจเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ เข้ามามีอิทธิพลในงานประเภทนี้ งานออกแบบกราฟฟิก ในทุกวันนี้จัดอยู่ในหมวด ของศิลปะอุตสาหกรรม

การออกแบบ (Design)
การออกแบบ (Design) คือศาสตร์แห่งความคิด การแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ เพื่อสนองต่อจุดมุ่งหมาย และนำกลับมาใช้งานได้อย่างน่าพึงพอใจ
คราวนี้ประเด็นอยู่ที่คำว่า " พึงพอใจ " ความพึงพอใจนั้นมองหลัก ๆ มีอยู่ทั้งหมด3 ประเด็นสำคัญคือ

1. ความสวยงาม (Asthetic)
เป็นความพึงพอใจแรกที่คนเราสัมผัสได้ก่อน มนุษย์เราแต่ละคนต่างมีการรับรู้เรื่องความสวยงามและความพึงพอใจในเรื่องของความงามได้ไม่เท่ากัน ความงามจึงเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันมาก และไม่มีกฎเกณฑ์การตัดสินใด ๆ ที่เป็นตัวกำหนดความแน่ชัดลงไป แต่เชื่อว่างานที่มีการจัดองค์ประกอบที่ดี คนส่วนใหญ่ก็จะมองว่าสวยงามได้เหมือน ๆ กัน
2. มีประโยชน์ใช้สอยที่ดี (Function)
การมีประโยชน์ใช้สอยที่ดีนั้นเป็นเรื่องสำคัญมากในงานออกแบบทุกประเภท เช่น ถ้าเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์เก้าอี้ เก้าอี้นั้นจะต้องนั่งสบาย ถ้าเป็นบ้าน บ้านนั้นจะต้องอยู่แล้วไม่รู้สึกอึดอัด ถ้าเป็นงานกราฟฟิกสื่อสิ่งพิมพ์ ตัวหนังสือที่อยู่ในงาน จะต้องอ่านง่าย ไม่ต้องถึงขั้นเพ่งสายตา ถึงจะเรียกได้ว่าเป็นงานออกแบบที่มีประโยชน์ใช้สอยที่ดีได้ เป็นต้น
3. มีแนวความคิดในการออกแบบที่ดี (Concept)
แนวความคิดในการออกแบบที่ดีนั้นคือ หนทางความคิดที่ทำให้งานออกแบบที่ได้ ตอบสนองต่อความรู้สึกพอใจ ชื่นชม เรื่องนี้บางคนให้ความสำคัญมาก บางคนให้ความสำคัญน้อย บางคนไม่ให้ความสำคัญ ให้แค่ 2 ข้อแรกก็พอ แต่เชื่อไหมว่างานออกแบบ บางครั้งจะมีคุณค่า(Value) มากขึ้น ถ้าได้ออกแบบงานจากแนวความคิด


ขบวนการทำงานออกแบบกราฟิกGraphic Design Workflow
มาถึงเรื่องสำคัญ ขบวนการทำงานในการออกแบบนั้นครอบคลุมตั่งแต่เริ่มมีโจทย์ มีปัญหาเข้ามาให้เราได้รับรู้ ให้เราได้แก้ไข จนไปสิ้นสุดตอนส่งงาน ส่วนระหว่างทางนั้นมีอะไรบ้างเราลองมาดูกัน

1. วิเคราะห์โจทย์ ที่มีมาให้แก้ไข (Program Analysis)
จุดเริ่มต้นของงานออกแบบคือ ปัญหา ... มีปัญหา มีโจทย์ จึงมีการออกแบบแก้ไข โจทย์ที่ว่านั้นมีความยากง่ายต่างกันแล้วแต่ชนิดของงาน แต่โจทย์ไม่มีทางออก-แบบได้ ถ้าปราศจากการวิเคราะห์ที่ถูกต้อง การวิเคราะห์หลัก ๆ สำหรับโจทย์งานกราฟิกมักจะเป็นดังนี้
What เราจะทำงานอะไร ? กำหนดเป้าหมายของงานที่จะทำ ซึ่งเป็นเรื่องเบื้องต้นในการออกแบบที่เราจะต้องรู้ก่อนว่า จะกำหนดให้งานของเราบอกอะไร(Inform) เช่น เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ บอกทฤษฎี หรือหลักการ เพื่อความบันเทิงเป็นต้น
Where งานของเราจะนำไปใช้ที่ไหน ? เช่น งานออกแบบผนังร้านหนังสือที่สยามสแควร์ที่เต็มไปด้วยร้านค้าแหล่งวัยรุ่น คงต้องมีสีสันฉูดฉาดสะดุดตามาก-กว่าร้านแถวสีลม ซึ่งสถานที่ในเขตคนทำงาน ซึ่งมีอายุมากขึ้น
Who ใครคือคนที่มาใช้งาน ? หรือกลุ่มผู้ใช้งานเป้าหมาย (User TargetGroup) เป็นเรื่องสำคัญที่สุดในการวิเคราะ์ห์โจทย์เพื่อการออกแบบ เพราะผู้ใช้งานเป้าหมายอาจเป็นตัวกำหนดแนวความคิดและรูปลักษณ์ของงานออกแบบได้เช่น งานออกแบบโปสเตอร์สำหรับผู้ใหญ่ เราต้องออกแบบโดยใช้สีจำนวนไม่มากไม่ฉูดฉาด และต้องใช้ตัวอักษรที่มีขนาดใหญ่ รวมถึงจัดวางอย่างเรียบง่ายมากกว่าผู้ใช้ในวัยอื่น ๆ
How แล้วจะทำงานชิ้นนี้อย่างไร ? การคิดวิเคราะห์ในขั้นสุดท้ายนี้อาจจะยากสักหน่อย แต่เป็นการคิดที่รวบรวมการวิเคราะห์ที่มีมาทั้งหมดกลั่นออกมาเป็นแนวทาง
2. สร้างแนวคิดหลักในการออกแบบให้ได้ (Conceptual Design)
งานที่ดีต้องมีแนวความคิด (Concept) แต่ไม่ได้หมายความว่างานที่ไม่มีแนวความคิดจะเป็นงานที่ไม่ดีเสมอไป งานบางงานไม่ได้มีแนวความคิด แต่เป็นงานออกแบบทีตอบสนองต่อกฎเกณฑ์การออกแบบ (Design Criteria) ที่มีอยู่ก็เป็นงานที่ดีได้เช่นกัน เพียงแต่ถ้าเราลองเอางานที่ดีมาวางเทียบกัน 2 ชิ้น เราอาจจะไม่รู้สึกถึงความแตกต่างอะไรมากมายนักในตอนแรก แต่เมื่อเรารู้ว่า งานชิ้นที่หนึ่งมีแนวความคิดที่ดี ในขณะที่อีกชิ้นหนึ่งไม่มี งานชิ้นที่มีแนวความคิดจะดูมีคุณค่าสูงขึ้นจนเราเกิดความรู้สึกแตกต่าง
3. ศึกษางานหรือกรณีตัวอย่างที่มีอยู่แล้ว (Case Study)
การศึกษากรณีตัวอย่างเป็นการวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของงานที่มีอยู่แล้ว เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ออกแบบในงานของเรา สำหรับผมการทำกรณีศึกษานับเป็นเรื่องสำคัญมากทีเดียวในงานออกแบบ เพราะเปรียบเสมือนตัวชี้แนะหนทางในการออกแบบหรือแก้ไขปัญหาของเราได้ แต่จงระวังว่าอย่าไปติดกับรูปแบบที่ชื่นชอบมากเพราะ อาจจะทำให้เราติดกับกรอบความคิด ติดกับภาพที่เห็นจนบางครั้งไม่สามารถสร้างสรรค์งานใหม่ ๆ ออกมาได้ ซึ่งการติดรูปแบบหรือภาพมากเกินไปนี้เอง มันจะซึบซับมาสู่งานของเรา จนกลายเป็นการตบแบบหรือลอกแบบชาวบ้านมานั่นเอง
4. ออกแบบร่าง (Preliminary Design)
การออกแบบร่างเป็นเรื่องสำคัญที่หลายคนมักมองข้าม การออกแบบร่างคือ การออกแบบร่างเอาแนวความคิดที่เรามีออกมาตีความเป็นแบบ ซึ่งส่วนใหญ่เวลาทำงานเรามักจะสเก็ตงานด้วยมือออกมาเป็นแบบร่างก่อน (สเก็ตด้วยมือไม่ได้สวยอะไรมาก ให้เราเข้าใจคนเดียว หรือเพื่อนที่ร่วมงานกับเราเข้าใจก็พอ) เพราะการสเก็ตจากมือคือการถ่ายทอดสิ่งที่อยู่ในสมองของเรา สิ่งที่เป็นนามธรรมให้ออกมาเป็นรูปธรรม ความคิดออกมาจากสมองกลายเป็นสิ่งที่เห็นได้ จับต้องได้บนกระดาษ แล้วจับไอ้นี่ที่เราสเก็ต หรือแบบร่างนั่นแหละ ไปทำต่อ โดยนำไปออกแบบในโปรแกรมที่ตนถนัด ไม่ว่าจะเป็น Photoshop, Illustrator หรือFreehand ฯลฯ ซึ่งก็แล้วแต่คนออกแบบแต่ละคน
5. ออกแบบจริง (Design)
ออกแบบจริงจากแบบร่างที่มีอยู่ จากแบบร่างทั้งหมดที่เราคัดเลือกแล้ว คราวนี้แหละที่เราต้องเลือกเอามาออกแบบในโปรแกรมที่เราถนัด ซึ่งขั้นตอนนี้คงจะไม่บอกว่าทำอย่างไรเพราะเป็นเรื่องต่อไปที่ให้ได้ศึกษากัน


การผลิตสื่อกราฟิก
ความหมาย และคุณค่าของสื่อกราฟิก
ความหมายและคุณค่าของสื่อกราฟิกสื่อกราฟิก หมายถึงการอธิบายด้วยภาพประกอบข้อมูลต่างๆเพื่อให้เกิดความเข้าใจประเภทของสื่อกราฟ
1.การออกแบบ สัญลักษณ์ต่างๆ
2.การออกแบบและจัดทำแผนภูมิ แผนภาพ แผนสถิติ
3.การวาดภาพอวัยวะ และระบบต่างๆของร่างกายมนุษย์ ได้แก่ ระบบกระดูก ระบบกล้ามเนื้อ เป็นต้น


....หลักการออกแบบ (powerpoint)........สื่อวัสดุกราฟิก......
" กราฟิก " (Graphic) เป็นคำมาจากภาษากรีกว่า Graphikos หมายถึง การเขียนภาพด้วยสีและเขียนภาพขาวดำและคำว่า " Graphein " มีความหมาย ทั้งการเขียนด้วยตัวหนังสือและการสื่อความหมาย โดยการใช้เส้น ....เมื่อรวมทั้งคำ Graphikos และ Graphein เข้าด้วยกัน..วัสดุกราฟิกหมายถึงวัสดุใด ๆ ซึ่งแสดงความจริง แสดงความคิดอย่างชัดเจน โดยใช้ภาพวาด ภาพเขียน และอักษรข้อความรวมกัน....ในหนังสือ Audiovisual Materials ซึ่งเขียนโดย Wittich & Schuller ได้แบ่งประเภทวัสดุกราฟิกไว้ดังนี้
1. แผนสถิติ (Graphs) แบ่งออกเป็น
...1.1 แผนสถิติแบบเส้น (Line Graphs)
...1.2 แผนสถิติแบบแท่ง (Bar Graphs)
...1.3 แผนสถิติแบบวงกลม (Circle or Pie Graphs)
...1.4 แผนสถิติแบบรูปภาพ (Pictorial Graphs)
...1.5 แผนสถิติแบบพื้นที่ (Area and Solid Figure Graphs)
2. แผนภาพ (Diagrams)
3. แผนภูมิ (Charts)
...3.1 แผนภูมิแบบต้นไม้ (Tree Charts)
...3.2 แผนภูมิแบบสายน้ำ (Stream Charts)
...3.3 แผนภูมิแบบองค์การ (Organization Charts)
...3.4 แผนภูมิแบบต่อเนื่อง (Flow Charts)
...3.5 แผนภูมิแบบเปรียบเทียบ (Comparision Charts)
...3.6 แผนภูมิแบบตาราง (Tabular Charts)
...3.7 แผนภูมิแบบวิวัฒนาการ (Experience Charts)
...3.8 แผนภูมิแบบอธิบายภาพ (Achivement Charts)
4. ภาพโฆษณา (Posters)
5. การ์ตูน (Cartoon)
6. ภาพวาด (Drawing)
7. ภาพถ่าย (Photography)
8. ภาพพิมพ์ (Printing)
9. สัญลักษณ์ (Symbols)


ที่มา: http://student.nu.ac.th/nackie/Instruction/
teeraphong.blogspot.com/2007/09/blog-post_6935.html

http://aom-edcom.blogspot.com/2007/09/blog-post_4418.html


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น