8/05/2552

การผลิตสื่อการสอน



1.ความหมายของเทคโนโลยีและสื่อการเรียนการสอน

เทคโนโลยีและสื่อการเรียนการสอนนั้น เป็นการนำวัตถุ เช่น เครื่องมือ อุปกรณ์ที่ใช้ในงานเทคนิคต่างๆ องค์ความรู้ กิจกรรม กรรมวิธี ระบบเทคนิคเชิงสังคม (Sociotechnical System) มาเป็นสิ่งเอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน หรือที่เรียกว่า สื่อการเรียนการสอน (Instructional Media) โดยมุ่งหวังการบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน และให้ผู้เรียนมีกระบวนการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

2.ระบบการผลิตสื่อการเรียนการสอน

ระบบการผลิตสื่อการเรียนการสอน หมายถึง การนำเอาวิธีการระบบมาใช้ในการผลิตสื่อการเรียนการ สอน โดยมีขั้นตอนทั้งหมด 6 ขั้นตอน ซึ่งมีความสัมพันธ์กัน ดังนี้

1) การกำหนดวัตถุประสงค์ โดยพิจารณาวัตถุประสงค์ของสื่อ ที่สามารถส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนได้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการใช้สื่อชนิดใด ภายใต้เงื่อนไข และบริบทใด

2) การเลือก การเลือกสื่อที่สัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ของการเรียน ความสามารถของผู้เรียน เนื้อหา และค่าใช้จ่าย ตลอดจนวิธีการใช้สื่อ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์

3) การผลิต เป็นการดำเนินการตามที่ได้เลือกสื่อไว้ แล้วพิจารณา จัดลำดับขั้นตอนในการผลิต ตั้งแต่กำหนดผู้ผลิต การเลือกวัสดุ เครื่องมือ อุปกรณ์ ภายใต้ระยะเวลาที่เหมาะสม และกำหนดโครงสร้างเนื้อหาในการผลิตสื่อให้มีความสัมพันธ์กัน

4) การทดสอบก่อนใช้ ระหว่างการใช้ และภายหลังจากการใช้สื่อ เป็นการตรวจสอบประสิทธิภาพของสื่อเพื่อการได้มาซึ่งข้อมูล ความเหมาะสมของสื่อ หรือข้อบกพร่องที่พบในสื่อนั้น ว่าควรได้รับการปรับปรุง แก้ไขให้เหมาะสมกับบริบทในการเรียนของผู้เรียน

5) การนำไปใช้ เป็นการนำสื่อไปใช้จริง เมื่อผ่านการทดสอบประสิทธิภาพและรับรองผลมาแล้ว

6) การบำรุงรักษา เป็นขั้นตอนต่อเนื่อง เพื่อให้สื่อที่ผลิตขึ้นนั้นมีสภาพพร้อมในการใช้งานได้เสมอ ยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานและคุ้มค่า จึงรวมถึงวิธีการใช้สื่อที่ถูกต้อง ตลอดจนวิธีการจัดเก็บรักษาสื่อที่เหมาะสม

3. รูปแบบการผลิตสื่อการเรียนการสอน

3.1)รูปแบบการออกแบบระบบการผลิตคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)

1) Roblyer and Hall (1985)รูปแบบการออกแบบระบบการผลิต CAI ของ Roblyer and Hall เป็นรูปแบบเชิงระบบในการออกแบบ โดยพัฒนาจากรูปแบบการออกแบบการเรียนการสอน(The Systems Approach Model for Designing Instruction)ของ Dick and Carey (1978)รูปแบบการออกแบบระบบการผลิต CAI ของ Roblyer and Hall (1985 : 14-31)ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้
1) ขั้นตอนการออกแบบ (Design)
2) ขั้นตอนการสร้างบทเรียน (Pre-Programming Development)
3) ขั้นตอนการประเมินผลและแก้ไขบทเรียน (Development and Evaluation)
รายละเอียดของขั้นตอนทั้ง 3 ขั้นตอนของ รูปแบบการออกแบบระบบการผลิต CAI ของRoblyer and Hall ถูกนำเสนอในรูปผังดำเนินการที่มีความสัมพันธ์กัน ดังนี้

1) ขั้นตอนการออกแบบ (Design)

1.1) การกำหนดเป้าหมายการสอน ในส่วนนี้จะครอบคลุมถึงขั้นตอนต่างๆ ดังนี้- การวิเคราะห์ปัญหา- การศึกษาลักษณะของผู้เรียน- การเขียนเป้าหมาย- กำหนดบรรยากาศการเรียนรู้ที่เหมาะสม

1.2) การวิเคราะห์รูปแบบการสอนที่เหมาะสม ในขั้นตอนการวิเคราะห์จะครอบคลุมถึงขั้นตอนต่างๆ ดังนี้- การพัฒนาแผนที่การเรียน (Learning Map) ได้แก่ การวิเคราะห์เป้าหมายและกำหนดทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้- การกำหนดทักษะพื้นฐานที่จำเป็น (Prerequisite Skills)- การกำหนดประเภทของทักษะ เป็นการแยกแยะ(Discrimination) กรอบแนวคิดหลัก (Concepts) หรือการเรียนรู้ถึงกฎเกณฑ์ (Rule learning)

1.3) การกำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ในขั้นตอนนี้คือการกำหนดสิ่งที่ผู้เรียนจะสามารถทำได้ภายใต้เงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่งหลังจากเรียนจบบทเรียนแล้ว

1.4) การกำหนดวิธีการประเมินผล ในขั้นตอนนี้มีการกำหนดวิธีการประเมินผลที่ประกอบด้วย การกำหนดการทดสอบที่จำเป็น การพัฒนารูปแบบข้อสอบและการหาความเชื่อมั่น(Reliability) และค่าความเที่ยง (Validity) ของแบบทดสอบ

1.5) การออกแบบกลวิธีการสอน เป็นการออกแบบกลวิธีการสอนที่เหมาะสมกับการสอนในแต่ละวัตถุประสงค์ นอกจากนี้ในขั้นตอนนี้ได้พิจารณาถึงหลักการออกแบบการสอน 9 ขั้นของGagne& Briggs (1974) ได้แก่ ดึงดูดความสนใจ บอกวัตถุประสงค์ ทบทวนความรู้เดิม การเสนอเนื้อหาใหม่ ชี้แนวทางการเรียนรู้ กระตุ้นการตอบสนอง ให้ผลป้อนกลับ ทดสอบความรู้ การจำและนำไปใช้การพิจารณาออกแบบกลวิธีการสอนขึ้นอยู่กับประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วย กล่าวคือ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนปะเภทติวเตอร์ (Tutorial) จะครอบคลุมขั้นตอนการสอนทั้ง 9 ขั้น หากเป็นคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทแบบฝึกหัด (Drills) จะครอบคลุมขั้นตอนการกระตุ้นตอบสนองและให้ผลป้อนกลับเป็นหลัก ส่วนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบสถานการณ์จำลอง (Simulations) จะครอบคลุมขั้นตอนการชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ และหรือการปฏิบัติ
2) ขั้นตอนการสร้างบทเรียน (Pre-Programming Development)

2.1) การเขียนผังงานและการสร้างสตอรี่บอร์ด การเขียนผังงานจะช่วยให้เกิดความชัดเจนในการทำงานโดยเฉพาะการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีโปรแกรมเมอร์หลายคนทำงานร่วมกัน เหมือนเป็นพิมพ์เขียวในการทำงาน ส่วนการสร้างสตอรี่บอร์ดมีความจำเป็นเพราะเป็นการกำหนดรายละเอียดต่างๆที่ปรากฏบนหน้าจอ ซึ่งเป็นการนำผังงานมาลงรายละเอียด

2.2) การเขียนเอกสารประกอบ เป็นเอกสารประกอบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ถูกพัฒนาให้เหมาะสมกับความต้องการ ซึ่งทีมงานได้ออกแบบระบบการจัดการในการจัดเก็บข้อมูล การวางแผน ในการผลิตเอกสารเพื่อสนับสนุนระบบบริหารจัดการ
2.3) การทบทวนก่อนสร้างโปรแกรม ก่อนที่จะสร้างโปรแกรมจริงนั้น จะมีการทบทวนบทเรียน เพื่อประหยัดเวลาในการแก้ไขโปรแกรมภายหลัง นอกจากทีมงานทบทวนด้วยตนเองแล้วยังให้ครูผู้สอนช่วยในการทบทวนการออกแบบด้วย

3) ขั้นตอนการประเมินผลและแก้ไขบทเรียน (Development and Evaluation)

3.1) การสร้างโปรแกรมขั้นแรก การสร้างโปรแกรมขั้นแรกเป็นการสร้างหน้าจอ และลำดับของหน้าจอตามการออกแบบที่ทำไว้ หลังจากนั้นมีการพัฒนาการนำเสนอบนหน้าจอและรายละเอียดต่างๆ

3.2) การทดสอบการใช้บทเรียน หลังจากมีการสร้างโปรแกรมขั้นแรกแล้ว จะมีการทดสอบการใช้บทเรียนกับผู้เรียนที่เป็นประชากรในกลุ่มเป้าหมายและเก็บข้อมูลสำคัญในการทดสอบ เช่น คะแนนสอบ ทัศนคติของผู้เรียนและผู้สอน

องค์ประกอบของการผลิตสื่อการสอนที่มีคุณภาพ
องค์ประกอบของการผลิตสื่อการสอนที่มีคุณภาพ ถ้าพูดในแง่ของบุคลากร จะประกอบด้วย
1. Subject matter expert (SME) หรือ Content expert เป็นบุคคลที่เป็นเจ้าของเนื้อหา เช่น ครู อาจารย์ หรือ เจ้าหน้าที่ในหน่วยต่าง ๆ ที่มีเนื้อหาที่ตนเองมีหน้าที่รับผิดชอบอยู่

2. Graphic designer เป็นบุคคลที่สร้างสื่อประสม เช่น ภาพ รูปวาด ไดอะแกรม เสียง เพลง ภาพยนตร์ แอนิเมชั่น เป็นต้น ในมุมมองที่ Content expert ต้องกา

3. Instructional designer เป็นบุคคลที่ออกแบบคำสอนว่า ควรจะสื่อให้ผู้เรียนเข้าใจได้อย่างไร ในรูปแบบใด

4. Computer programmer เป็นบุคคลที่เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อร้อยเนื้อหาของ Content expert และสื่อประสมต่างๆ ของ Graphic designer เข้าด้วยกัน ให้อยู่ในรูปแบบการนำเสนอของ Instructional designer
ในปัจจุบัน เนื่องจากมีโปรแกรมสร้างสื่อการสอนที่สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น ดังนั้น Content expert อาจเรียนรู้เป็น Computer programmer ได้ไม่ยากนัก และมักจะสอนมานานจึงมีความสามารถในการออกแบบคำสอนได้พอสมควร จึงพอจะอนุโลมว่าสามารถเป็น Instructional designer ได้ในตัว แต่มักพบว่าการเป็น Graphic designer จะกระทำได้ยากเนื่องจากศิลปการทำกราฟิกส์หรือมัลติมีเดียนั้น ต้องการความเป็นศิลปส่วนบุคคลซึ่งเรียนรู้ได้ยากกว่าความเป็นศาสตร์ที่ Content expert รู้อยู่แล้ว รวมทั้งการเขียนโปรแกรมและการออกแบบคำสอน
ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าปัจจัยความสำเร็จของการสร้างสื่อการสอนที่มีคุณภาพ จึงอยู่ที่ความสามารถในการสื่อสารระหว่างบุคลากรทั้ง 4 ประเภทดังกล่าวข้างต้น ให้เข้าใจเนื้อหาและวัตถุประสงค์ตรงกัน และทำงานร่วมกันอย่างผสมกลมกลืนกัน

ที่มา:http://gotoknow.org/blog/edutech/5693

http://supanida-opal.blogspot.com/2007/05/blog-post_2592.html



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น