8/05/2552

แนวคิดทางการสื่อสาร


สาระสำคัญ
1. ความหมายและองค์ประกอบของการสื่อสาร
2. บริบทและองค์ประกอบของสาธารณะ

----------------------------------------------------

ความหมาย Communication

มาจากภาษาลาตินว่า Communis ซึ่งมีความหมายตรงกับคำว่า Common แปลว่า ความร่วมมือกันหรือความคล้ายคลึงกัน การสื่อสารจึงหมายถึง

“การกระทำของคนเราที่มุ่งสร้างความร่วมมือกันหรือคล้ายคลึงกัน นั่นคือการพยายามแลกเปลี่ยนข่าวสาร ความคิดและทัศนคติซึ่งกันและกัน โดยอาศัยความสัมพันธ์ของทั้งสองฝ่ายเป็นที่ตั้งเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน”Wilbur Schramm

“การสื่อสารคือกระบวนการแลกเปลี่ยนข่าวสารเกิดขึ้นโดยการถ่ายทอดสารจากบุคคลฝ่ายหนึ่งซึ่งทำหน้าที่ส่งสารผ่านสื่อหรือช่องทางต่าง ๆ ไปยังผู้รับสารโดยมี วัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง” สุมน อยู่สิน


องค์ประกอบการสื่อสาร
SIMMCREFI
องค์ประกอบ 9 ประการ ในการนำเสนอด้วยสื่อใดๆ
S= source (sender) แหล่งที่ส่งสารออกไป อาจเป็นบุคคล, องค์กรก็ได้
I= information ข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเป็นสิ่งที่หยิบฉวยเอาได้ทั่วไป อาจเป็นข้อความ ภาพ วิดีโอ เสียง สัญลักษณ์ ลีลา อารมณ์ เวลา (infotime)
M= message สิ่งที่ผ่านการกลั่นกรองแล้ว เพื่อนำเสนอ อาจเป็น ข้อความ (text), ภาพ (image), ภาพเคลื่อนไหว (Video & animation), เสียง (wave, midi, voice), multimedia, สัญลักษณ์, ลีลา, อารมณ์, เวลา
M= media สื่อ (สิ่งที่บรรจุด้วย message) = message จะถูกนำไปวางใน media = media คือที่อยู่ของ message ตัวอย่างสื่อ เช่น เทป, แผ่นซีดี, flash drive, harddisk, ฟิล์มสไลด์, คลื่นแม่เหล็ก, คลื่นไฟฟ้า (digital), คลื่นเสียง (radio), คลื่นอารมณ์ (โกรธ เกลียด พยาบาท รัก ชอบ-พอใจ เฉยๆ), ช่วงเวลา
C= channelช่องทาง หรือพาหะ พาสื่อ (media) จากแหล่งต้นทาง ไปยังผู้รับ อาจผ่านอุปสรรคต่างๆ (noise) ทำให้ผู้รับ รับสารได้ไม่ดี ต้องกำจัด noise หรือ ส่งข้อมูลซ้ำ เพิ่มความแรง ความถี่ ในการส่ง ฯลฯ
R= recieverผู้รับสาร มี 5 กลุ่ม * Initiator กลุ่มผู้แนะนำ-ชักชวน (เพื่อนบ้าน เพื่อสนิท ญาติ)* Influence กลุ่มผู้มีอิทธิพลในการเลือกรับฟัง-รับชม (ครู พ่อ แม่ พระ หมอดู แฟน)* Decision Maker กลุ่มผู้ตัดสินใจเลือกข่าวสาร (คนซื้อ นสพ./ซีดี คนหยิบแผ่นใส่เครื่องอ่าน คนเลือกสถานี)*Buyer กลุ่มผู้จ่ายค่าบริการ เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าซื้อ tv ค่าเช่าซีดี*Consumer กลุ่มผู้รับรู้-บริโภค (คนอ่าน/คนดู/คนฟัง)
กลุ่มเป้าหมายผู้รับสาร ที่ควรรู้ แบ่งตามประเทภ*Demographic Background ชื่อ อายุ ที่อยู่ ที่ติดต่อ อาชีพ ฯลฯ*Psychographic Background ชอบ ไม่ชอบ ความคิด วิสัยทัศน์ อุดมการณ์*Media Usage พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ (อยากรับ เวลาใด อารมณ์ใด โอกาสใด จำนวนครั้ง)*Consumer Behavior พฤติกรรมการบริโภค (บ่อย นานๆครั้ง ประจำ เพิ่งครั้งแรก ครั้งสุดท้าย)
E= effectพฤติกรรมการรับรู้ ยอมรับ รู้จัก ของผู้รับสาร
F= feedbackพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เปลี่ยนแปลงอะไรบ้างเปลี่ยนแปลงความรู้ Knowledgeเปลี่ยนแปลงทัศนคติ Attitudeเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (Practice)
I= interactionพฤติกรรมตอบรับ two-way communication


ประเภทการสื่อสาร


*การสื่อสารภายในบุคคล Intrapersonnal Communication
บุคคลคนเดียวทำหน้าที่ทั้งเป็นผู้ส่งสารและผู้รับสาร จึงเป็นพื้นฐานของการสื่อสารประเภทอื่น

*การสื่อสารระหว่างบุคคล Interpersonnal Communication
เป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไปทำการแลกเปลี่ยนข่าวสารซึ่งกันและกัน
การสื่อสารกลุ่มย่อย
Small-Group Communication

*การสื่อสารระหว่างบุคคลกลุ่มเล็ก โดยจะมีจำนวนเท่าไรไม่มีกำหนดแน่นอนตายตัวที่อาจมีประสบการณ์คล้ายคลึงกัน เช่น การเรียนในห้องเรียน การประชุม การพบประสังสรรค์

*การสื่อสารสาธารณะ Public Communication การสื่อสารกับกลุ่มคนจำนวนมาก เช่น การพูดในห้องประชุมขนาดใหญ่ การปราศรัยหาเสียงของนักการเมือง หรือการพูดในที่ชุมนุมชน

*การสื่อสารมวลชน การสื่อสารที่มีบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก ทั้ง ผู้ส่งสารและผู้รับสาร ผู้ส่งสารจะมีลักษณะเป็นองค์กรที่มีการทำงานอย่างเป็นระบบ เช่น สำนักงานหนังสือพิมพ์ สถานีวิทยุกระจายเสียง สถานีวิทยุโทรทัศน์

ความสำคัญของการสื่อสาร
*ความสำคัญของการสื่อสารที่มีต่อสังคม
*ความสำคัญต่อการดำรงชีวิต

คนเราไม่ว่าจะอาศัยอยู่แห่งหนตำบลใดก็ตามสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยอาศัยสื่อ
*ความสำคัญต่อการเมืองและการปกครองประเทศ
ในการกำหนดนโยบายหรือการดำเนินการใด ๆ ของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับประชาชน รัฐบาลต้องสร้าง
ความเข้าใจกับประชาชนโดยใช้สื่อ
*ความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ
การสื่อสารช่วยสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนและนักลงทุนหรือผู้ประกอบการ หรือส่งเสริม
การตลาด และการโฆษณาสินค้า เช่น อธิบายประโยชน์ของโรงงาน อุตสาหกรรมที่จะนำมาสร้างใน
ชุมชน
*ความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
การสื่อสารช่วยพัฒนาความรู้ให้กว้างขวาง ให้การศึกษาแก่ประชาชนทั้งในระบบและนอกระบบ
โรงเรียน ทำให้เข้าใจบทบาทและสถานภาพที่แตกต่างกันของบุคคลอื่นในสังคม

หน้าที่ของการสื่อสาร

1. หน้าที่โดยชัดแจ้ง (manifest function)
การสื่อสารสามารถทำหน้าที่ได้ตามผลที่ผู้ส่งสารคาดหวังเอาไว้
2. หน้าที่แฝงหรือซ่อนเร้น (latent function)
การสื่อสารทำหน้าที่ในทางที่ไม่คาดหวังตามผลที่ผู้ส่งสารคาดหวังเอาไว้

หน้าที่ของสื่อสารมวลชนต่อสังคม

1. หน้าที่เสนอข่าวสาร เป็นการเสนอข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมาไม่มีการแทรกความเห็นหรือแปลความหมายของข่าวสารแต่อย่างใด
2. หน้าที่เสนอความเห็น เป็นการให้คำอธิบายความหมายเกี่ยวกับเหตุการณ์หรือ ข้อเท็จจริงเพื่อผู้รับสารเปลี่ยนแปลงความเชื่อ ทัศนคติ หรือพฤติกรรม
3. หน้าที่บริการด้านการศึกษา มุ่งเสนอข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เป็นประโยชน์เพื่อช่วยในการตัดสินใจและดำเนินชีวิตประจำวันแก่ประชาชน
4. หน้าที่ให้บริการบันเทิง มุ่งเร้าอารมณ์และความรู้สึกมากกว่าที่จะเสริมสร้างความคิดและเปลี่ยนพฤติกรรมของคน

บริบทและองค์ประกอบของสาธารณะ

1. ทุน และ ทรัพยากร
1.1 ทรัพยากรวัตถุ และธรรมชาติ
-วัตถุดิบ-บริสุทธิ์ (raw material)-วัตถุดิบ-เวียนใหม่ (recycle material และรวมถึง reject, reuse, reform)-วัตถุแปรรูป (modify material) -วัตถุสำเร็จรูป (commodity)-วัตถุที่มีสิทธิครอบครองได้โดยธรรมชาติ (แผ่นดิน, อากาศ, แสงแดด, น้ำตามแหล่งธรรมชาติ) **มี “ค่า” สูง แต่มี “ราคา” ต่ำ**-วัตถุที่มีลิขสิทธิ์ หรือมีสิทธิครอบครองตามที่กฎหมายกำหนด **มี “ราคา” สูง แต่มี “ค่า” ต่ำ**
** การวัด “ค่า” ขึ้นอยู่กับ 5t (true, trust, taste, tangible, test)** “ราคา” ขึ้นอยู่กับ ปริมาณความต้องการอยากตอบสนองสิ่งเร้า ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งมีหน่วยการวัดที่สังคมยอมรับ
1.2 ทรัพยากรบุคคล และทุนทางสังคม
-คน-ระบบ-สังคม สิ่งแวดล้อม-สุขภาวะ (กาย จิต จิตวิญญาณ สังคม-สาธารณโภคี (ระบบประกันคุณภาพ และสวัสดิการ)
1.3 ทรัพยากรเวลา และความรัก
1.4 ทรัพยากรการสื่อสาร
-ระบบจำลองการสื่อสาร SMCR-สื่อ และสื่อสารมวลชน-องค์ประกอบและคุณสมบัติ (place, position, time, quality message, access & connect, attention, motion)
2. การใช้อำนาจ และการตอบสนองต่อการใช้อำนาจ
2.1 ระบบธนาธิปไตย
2.2 ระบบประชาธิปไตย
2.3 ระบบอัตตาธิปไตย
2.4 ระบบธรรมาธิปไตย


แนวคิด ทฤษฎี ด้านการสื่อสาร และสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับนิเทศศาสตร์สาธารณะ

ทฤษฎีสื่อสารมวลชน Theories of the Press
ทฤษฎีว่าด้วยองค์ประกอบของการสื่อสาร Theory Component in Communication
ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล Individual Differences Theory
ทฤษฎีการแบ่งกลุ่มทางสังคม Social Categories Theory
ทฤษฎีการสื่อสารแบบสองขั้นตอน Two-Step Flow of Communication Theory
ทฤษฎีสารสนเทศ Information Theory

ผู้นำความคิดเห็น Opinion Leaders or Influentials
การกำหนดประเด็นการรับรู้ข่าวสาร Agenda Setting
ทฤษฎีการสื่อสารในองค์กร Organizational Communication
ผู้เฝ้าประตูข่าวสาร Gatekeeper
การเซ็นเซอร์ Censorship

การวิเคราะห์ผู้รับสาร General Concept of Audience Analysis
การวิเคราะห์ผู้รับสารกับการรับรู้ Audience Analysis and Perception
การรณรงค์เพื่อการสื่อสารประเด็นสาธารณะ Public Communication Campaign
การสื่อสารสาธารณะ
การสื่อสารระหว่างบุคคล Interpersonal Communication
การสื่อสารทางการเมือง Political Communication
การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม Intercultural Communication
การเลือกรับรู้ Selective Perception
การเลือกเปิดรับ Selective Exposure
การเลือกจดจำ Selective Retention

การผลิตข่าว News Production
การรายงานข่าวและการนำเสนอข่าว News Reporting
การบรรณาธิกรณ์ข่าว

การผลิตรายการวิทยุ Radio Production
การผลิตรายการโทรทัศน์ TV Production

แนวคิดด้านการประชาสัมพันธ์ Public Relations
การเผยแพร่ Publicity
ภาพลักษณ์ Image
การประชาสัมพันธ์เพื่อการตลาด Marketing Public Relations

แนวคิดด้านการโฆษณาAdvertising
ทฤษฎีสัญญะวิทยา

การชักจูงใจ Persuasion
ผลของการเรียนรู้ Learning Effect
การเรียนรู้ทางสังคม Social Learning
การเปลี่ยนค่านิยม Value Change
ความเข้าใจ Understanding
ทัศนคติ Attitude

กระบวนการยอมรับสิ่งใหม่ Adoption Process
รูปแบบการดำเนินชีวิต Lifestyle
ทฤษฎีเกี่ยวกับบุคลิกภาพ Theory of Personality

แนวคิดเกี่ยวกับการตลาด Marketing
การสื่อสารการตลาด Marketing Communication
การสื่อสารการตลาดแบบผสมผสาน Integrated Marketing Communication

ความหมายทางทฤษฎี

ทฤษฎี ประกอบด้วยสาระพื้นฐาน 2 ประการ คือ
แนวคิดและข้อความที่สัมพันธ์กับแนวคิดนั้น และทฤษฎีย่อมประกอบด้วยแนวคิดอย่างน้อยที่สุด 2 แนวคิด และข้อความที่อธิบายหรือคาดการณ์ล่วงหน้าถึงความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดนั้น
แนวคิด บรรยายถึงจุดม่งหมายและหน้าที่

ทฤษฎี (Theory) คือ ข้อความ หรือข้อสรุปซึ่งปรากฎอยู่ในรูปประโยคเชิงเหตุผล เพื่อการบรรยาย อธิบาย หรือทำนายปรากฎการณ์ หรือเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับปรากฎการณ์ ภายใต้บริบทใดบริบทหนึ่ง หรือหลากหลายบริบท
โดยทั่วไปแล้ว ข้อความ หรือ ข้อสรุปที่นำเสนอในทฤษฎี ประกอบด้วย
1. ประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับปรากฎการณ์หนึ่งๆ
2. คำนิยาม หรือคำอธิบายความหมายของประเด็นต่างๆเหล่านั้น
3. หลักการ ข้อเท็จจริง และสมมติฐานเกี่ยวกับปรากฎการณ์ในด้านต่างๆอย่างเป็นระบบ เช่น สาเหตุในการเกิดปรากฎการณ์ ขั้นตอนการเกิดปรากฎการณ์ และความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นต่างๆในเชิงเหตุผล ตลอดจนข้อตกลงเบื้องต้นในการศึกษาปรากฎการณ์

แนวคิด (Concept) คือข้อสรุป ที่บุคคลใช้ในการอธิบายปรากฎการณ์ต่างๆที่ตนสามารถสังเกตเห็นโดยตรง หรืออาจรับรู้ทางอ้อมผ่านการถ่ายทอด การบอกเล่า คำอธิบายของผู้อื่น
ประเภทของแนวคิด
1. แนวคิดเชิงรูปธรรม เป็นแนวคิดที่เราสามารถระบุคำนิยามศัพท์เกี่ยวกับองค์ประกอบต่างๆของแนวคิดได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะในรูปของการสังเกต การวัด หรือการประเมินผล
2. แนวคิดเชิงนามธรรม เป็นแนวคิดที่เราไม่ได้ระบุคำนิยามศัพท์ในเชิงการสังเกต การวัด หรือการประเมินผล ไว้อย่างชัดเจน


-------------------------------------------------------------------------

ที่มา www.krirk.ac.th/.../Communication.../communications/.../public_communication.doc -




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น