8/05/2552

สื่อกราฟฟิก






การออกแบบงานกราฟฟิก : Graphic Designer

บทนำ
การสร้างอนิเมชั่นหรือการออกแบบเว็บเพจนั้น ควรมีเครื่องมือในการสร้างที่ใช้งานสะดวก
และเหมาะสมกับตนเอง ดังนั้นแต่ละบุคคลก็อาจเลือกใช้โปรแกรมเสริมที่แตกต่างกันออกไป
อย่างเช่น Program Adobe Photoshop , Macromedia Dreamweaver,
Macromedia Flash แต่จะมีใครสักกี่คนที่เข้าใจวิธีการสร้างงานด้วยเครื่องมือเหล่านี้ให้ถูกกับ
จุดประสงค์ของการนำ้เสนอและมีความสวยงามเป็นที่น่้าสนใจ ดั้งนั้นข้าพเจ้าจึงได้สนใจที่จะนำ
เสนอการเรียนการสอนเรื่อง การออกแบบงานกราฟฟิก ขึ้นเพื่อให้ผู้ที่ต้องการศึกษาและพัฒนา
เว็บเพจ สามารถสร้างเว็บเพจที่มีความสวยงามและถูกต้องตามจุดประสงค์ของการนำเสนอ



ศิลปะ Arts
ศิลปะ คือศาสตร์แห่งการแสดงออกจากจินตนาการและอารมณ์ เพื่อความสุขทางใจ
" การสื่อความหมาย จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในงานศิลปะ "

คุณค่าของศิลปะขึ้นอยู่กับความหมายที่สื่อมาจากตัวศิลปินผู้รังสรรค์ผลงานไม่ว่าจะเป็นการสื่อความหมายแบบตรงไปตรงมา หรือสื่อความหมายแบบแอบแฝง
พอเรารู้ความหมายแล้ว คราวนี้ก็ลองมาเรียนรู้ประเภทของศิลปะแบบคร่าว ๆ กันสักหน่อย ศิลปะถูกแบ่งออกเป็น 2 สาขาใหญ่ ๆ ได้แก่

1. วิจิตรศิลป์ (Fine Arts)
เป็นศิลปะสาขาที่ตอบสนองต่อความต้องการทางจิตใจเป็นหลักแบ่งออกเป็น3 สาขา ย่อยคือ

ทัศนศิลป์ (Visual Arts) เป็นงานศิลปะที่สื่อให้เราได้รับรู้จากการมองเห็นได้แก่ - จิตรกรรม
ประติมากรรม - หัตถกรรม - ภาพพิมพ์
โสตศิลป์ (Audio Arts) เป็นศิลปะที่สื่อให้เราได้รับรู้จากการได้ยิน หรือ การอ่านจากตัวอักษร ได้แก่
- ดนตรี - วรรณคดี สตทัศนศิลป์ (Audio Visual Arts)เป็นศิลปะที่สื่อให้้เราได้รับรู้จากการแสดง ซึ่งปัจจุบันมีมากมายหลายแขนง เช่น ภาพยนต์ วิดีทัศน์ ซึ่งศิลปะสาขานี้มักจะต้อง พึ่งพาเทคโนโลยีเป็นหลัก


2. ประยุกต์ศิลป์
pplied Artsเป็นศิลปะสาขาที่ตอบสนองความต้องการของคนเราเป็นหลัก
- สถาปัตยกรรม (Architecture) เป็นศิลปะที่เกี่ยวจ้องกับการออกแบบพื้นที่ว่าง เพื่อตอบสนองความต้องการทางด้านการอยู่อาศัยเป็นเรื่องหลัก
- ศิลปะอุตสาหกรรม (Industrial Design) เป็นศิลปะที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ตอบสนองประโยชน์ใช้สอยของ คนเราในชีวิตประจำวัน บางครั้งก็มีเรื่องของธุรกิจเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ เข้ามามีอิทธิพลในงานประเภทนี้ งานออกแบบกราฟฟิก ในทุกวันนี้จัดอยู่ในหมวด ของศิลปะอุตสาหกรรม

การออกแบบ (Design)
การออกแบบ (Design) คือศาสตร์แห่งความคิด การแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ เพื่อสนองต่อจุดมุ่งหมาย และนำกลับมาใช้งานได้อย่างน่าพึงพอใจ
คราวนี้ประเด็นอยู่ที่คำว่า " พึงพอใจ " ความพึงพอใจนั้นมองหลัก ๆ มีอยู่ทั้งหมด3 ประเด็นสำคัญคือ

1. ความสวยงาม (Asthetic)
เป็นความพึงพอใจแรกที่คนเราสัมผัสได้ก่อน มนุษย์เราแต่ละคนต่างมีการรับรู้เรื่องความสวยงามและความพึงพอใจในเรื่องของความงามได้ไม่เท่ากัน ความงามจึงเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันมาก และไม่มีกฎเกณฑ์การตัดสินใด ๆ ที่เป็นตัวกำหนดความแน่ชัดลงไป แต่เชื่อว่างานที่มีการจัดองค์ประกอบที่ดี คนส่วนใหญ่ก็จะมองว่าสวยงามได้เหมือน ๆ กัน
2. มีประโยชน์ใช้สอยที่ดี (Function)
การมีประโยชน์ใช้สอยที่ดีนั้นเป็นเรื่องสำคัญมากในงานออกแบบทุกประเภท เช่น ถ้าเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์เก้าอี้ เก้าอี้นั้นจะต้องนั่งสบาย ถ้าเป็นบ้าน บ้านนั้นจะต้องอยู่แล้วไม่รู้สึกอึดอัด ถ้าเป็นงานกราฟฟิกสื่อสิ่งพิมพ์ ตัวหนังสือที่อยู่ในงาน จะต้องอ่านง่าย ไม่ต้องถึงขั้นเพ่งสายตา ถึงจะเรียกได้ว่าเป็นงานออกแบบที่มีประโยชน์ใช้สอยที่ดีได้ เป็นต้น
3. มีแนวความคิดในการออกแบบที่ดี (Concept)
แนวความคิดในการออกแบบที่ดีนั้นคือ หนทางความคิดที่ทำให้งานออกแบบที่ได้ ตอบสนองต่อความรู้สึกพอใจ ชื่นชม เรื่องนี้บางคนให้ความสำคัญมาก บางคนให้ความสำคัญน้อย บางคนไม่ให้ความสำคัญ ให้แค่ 2 ข้อแรกก็พอ แต่เชื่อไหมว่างานออกแบบ บางครั้งจะมีคุณค่า(Value) มากขึ้น ถ้าได้ออกแบบงานจากแนวความคิด


ขบวนการทำงานออกแบบกราฟิกGraphic Design Workflow
มาถึงเรื่องสำคัญ ขบวนการทำงานในการออกแบบนั้นครอบคลุมตั่งแต่เริ่มมีโจทย์ มีปัญหาเข้ามาให้เราได้รับรู้ ให้เราได้แก้ไข จนไปสิ้นสุดตอนส่งงาน ส่วนระหว่างทางนั้นมีอะไรบ้างเราลองมาดูกัน

1. วิเคราะห์โจทย์ ที่มีมาให้แก้ไข (Program Analysis)
จุดเริ่มต้นของงานออกแบบคือ ปัญหา ... มีปัญหา มีโจทย์ จึงมีการออกแบบแก้ไข โจทย์ที่ว่านั้นมีความยากง่ายต่างกันแล้วแต่ชนิดของงาน แต่โจทย์ไม่มีทางออก-แบบได้ ถ้าปราศจากการวิเคราะห์ที่ถูกต้อง การวิเคราะห์หลัก ๆ สำหรับโจทย์งานกราฟิกมักจะเป็นดังนี้
What เราจะทำงานอะไร ? กำหนดเป้าหมายของงานที่จะทำ ซึ่งเป็นเรื่องเบื้องต้นในการออกแบบที่เราจะต้องรู้ก่อนว่า จะกำหนดให้งานของเราบอกอะไร(Inform) เช่น เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ บอกทฤษฎี หรือหลักการ เพื่อความบันเทิงเป็นต้น
Where งานของเราจะนำไปใช้ที่ไหน ? เช่น งานออกแบบผนังร้านหนังสือที่สยามสแควร์ที่เต็มไปด้วยร้านค้าแหล่งวัยรุ่น คงต้องมีสีสันฉูดฉาดสะดุดตามาก-กว่าร้านแถวสีลม ซึ่งสถานที่ในเขตคนทำงาน ซึ่งมีอายุมากขึ้น
Who ใครคือคนที่มาใช้งาน ? หรือกลุ่มผู้ใช้งานเป้าหมาย (User TargetGroup) เป็นเรื่องสำคัญที่สุดในการวิเคราะ์ห์โจทย์เพื่อการออกแบบ เพราะผู้ใช้งานเป้าหมายอาจเป็นตัวกำหนดแนวความคิดและรูปลักษณ์ของงานออกแบบได้เช่น งานออกแบบโปสเตอร์สำหรับผู้ใหญ่ เราต้องออกแบบโดยใช้สีจำนวนไม่มากไม่ฉูดฉาด และต้องใช้ตัวอักษรที่มีขนาดใหญ่ รวมถึงจัดวางอย่างเรียบง่ายมากกว่าผู้ใช้ในวัยอื่น ๆ
How แล้วจะทำงานชิ้นนี้อย่างไร ? การคิดวิเคราะห์ในขั้นสุดท้ายนี้อาจจะยากสักหน่อย แต่เป็นการคิดที่รวบรวมการวิเคราะห์ที่มีมาทั้งหมดกลั่นออกมาเป็นแนวทาง
2. สร้างแนวคิดหลักในการออกแบบให้ได้ (Conceptual Design)
งานที่ดีต้องมีแนวความคิด (Concept) แต่ไม่ได้หมายความว่างานที่ไม่มีแนวความคิดจะเป็นงานที่ไม่ดีเสมอไป งานบางงานไม่ได้มีแนวความคิด แต่เป็นงานออกแบบทีตอบสนองต่อกฎเกณฑ์การออกแบบ (Design Criteria) ที่มีอยู่ก็เป็นงานที่ดีได้เช่นกัน เพียงแต่ถ้าเราลองเอางานที่ดีมาวางเทียบกัน 2 ชิ้น เราอาจจะไม่รู้สึกถึงความแตกต่างอะไรมากมายนักในตอนแรก แต่เมื่อเรารู้ว่า งานชิ้นที่หนึ่งมีแนวความคิดที่ดี ในขณะที่อีกชิ้นหนึ่งไม่มี งานชิ้นที่มีแนวความคิดจะดูมีคุณค่าสูงขึ้นจนเราเกิดความรู้สึกแตกต่าง
3. ศึกษางานหรือกรณีตัวอย่างที่มีอยู่แล้ว (Case Study)
การศึกษากรณีตัวอย่างเป็นการวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของงานที่มีอยู่แล้ว เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ออกแบบในงานของเรา สำหรับผมการทำกรณีศึกษานับเป็นเรื่องสำคัญมากทีเดียวในงานออกแบบ เพราะเปรียบเสมือนตัวชี้แนะหนทางในการออกแบบหรือแก้ไขปัญหาของเราได้ แต่จงระวังว่าอย่าไปติดกับรูปแบบที่ชื่นชอบมากเพราะ อาจจะทำให้เราติดกับกรอบความคิด ติดกับภาพที่เห็นจนบางครั้งไม่สามารถสร้างสรรค์งานใหม่ ๆ ออกมาได้ ซึ่งการติดรูปแบบหรือภาพมากเกินไปนี้เอง มันจะซึบซับมาสู่งานของเรา จนกลายเป็นการตบแบบหรือลอกแบบชาวบ้านมานั่นเอง
4. ออกแบบร่าง (Preliminary Design)
การออกแบบร่างเป็นเรื่องสำคัญที่หลายคนมักมองข้าม การออกแบบร่างคือ การออกแบบร่างเอาแนวความคิดที่เรามีออกมาตีความเป็นแบบ ซึ่งส่วนใหญ่เวลาทำงานเรามักจะสเก็ตงานด้วยมือออกมาเป็นแบบร่างก่อน (สเก็ตด้วยมือไม่ได้สวยอะไรมาก ให้เราเข้าใจคนเดียว หรือเพื่อนที่ร่วมงานกับเราเข้าใจก็พอ) เพราะการสเก็ตจากมือคือการถ่ายทอดสิ่งที่อยู่ในสมองของเรา สิ่งที่เป็นนามธรรมให้ออกมาเป็นรูปธรรม ความคิดออกมาจากสมองกลายเป็นสิ่งที่เห็นได้ จับต้องได้บนกระดาษ แล้วจับไอ้นี่ที่เราสเก็ต หรือแบบร่างนั่นแหละ ไปทำต่อ โดยนำไปออกแบบในโปรแกรมที่ตนถนัด ไม่ว่าจะเป็น Photoshop, Illustrator หรือFreehand ฯลฯ ซึ่งก็แล้วแต่คนออกแบบแต่ละคน
5. ออกแบบจริง (Design)
ออกแบบจริงจากแบบร่างที่มีอยู่ จากแบบร่างทั้งหมดที่เราคัดเลือกแล้ว คราวนี้แหละที่เราต้องเลือกเอามาออกแบบในโปรแกรมที่เราถนัด ซึ่งขั้นตอนนี้คงจะไม่บอกว่าทำอย่างไรเพราะเป็นเรื่องต่อไปที่ให้ได้ศึกษากัน


การผลิตสื่อกราฟิก
ความหมาย และคุณค่าของสื่อกราฟิก
ความหมายและคุณค่าของสื่อกราฟิกสื่อกราฟิก หมายถึงการอธิบายด้วยภาพประกอบข้อมูลต่างๆเพื่อให้เกิดความเข้าใจประเภทของสื่อกราฟ
1.การออกแบบ สัญลักษณ์ต่างๆ
2.การออกแบบและจัดทำแผนภูมิ แผนภาพ แผนสถิติ
3.การวาดภาพอวัยวะ และระบบต่างๆของร่างกายมนุษย์ ได้แก่ ระบบกระดูก ระบบกล้ามเนื้อ เป็นต้น


....หลักการออกแบบ (powerpoint)........สื่อวัสดุกราฟิก......
" กราฟิก " (Graphic) เป็นคำมาจากภาษากรีกว่า Graphikos หมายถึง การเขียนภาพด้วยสีและเขียนภาพขาวดำและคำว่า " Graphein " มีความหมาย ทั้งการเขียนด้วยตัวหนังสือและการสื่อความหมาย โดยการใช้เส้น ....เมื่อรวมทั้งคำ Graphikos และ Graphein เข้าด้วยกัน..วัสดุกราฟิกหมายถึงวัสดุใด ๆ ซึ่งแสดงความจริง แสดงความคิดอย่างชัดเจน โดยใช้ภาพวาด ภาพเขียน และอักษรข้อความรวมกัน....ในหนังสือ Audiovisual Materials ซึ่งเขียนโดย Wittich & Schuller ได้แบ่งประเภทวัสดุกราฟิกไว้ดังนี้
1. แผนสถิติ (Graphs) แบ่งออกเป็น
...1.1 แผนสถิติแบบเส้น (Line Graphs)
...1.2 แผนสถิติแบบแท่ง (Bar Graphs)
...1.3 แผนสถิติแบบวงกลม (Circle or Pie Graphs)
...1.4 แผนสถิติแบบรูปภาพ (Pictorial Graphs)
...1.5 แผนสถิติแบบพื้นที่ (Area and Solid Figure Graphs)
2. แผนภาพ (Diagrams)
3. แผนภูมิ (Charts)
...3.1 แผนภูมิแบบต้นไม้ (Tree Charts)
...3.2 แผนภูมิแบบสายน้ำ (Stream Charts)
...3.3 แผนภูมิแบบองค์การ (Organization Charts)
...3.4 แผนภูมิแบบต่อเนื่อง (Flow Charts)
...3.5 แผนภูมิแบบเปรียบเทียบ (Comparision Charts)
...3.6 แผนภูมิแบบตาราง (Tabular Charts)
...3.7 แผนภูมิแบบวิวัฒนาการ (Experience Charts)
...3.8 แผนภูมิแบบอธิบายภาพ (Achivement Charts)
4. ภาพโฆษณา (Posters)
5. การ์ตูน (Cartoon)
6. ภาพวาด (Drawing)
7. ภาพถ่าย (Photography)
8. ภาพพิมพ์ (Printing)
9. สัญลักษณ์ (Symbols)


ที่มา: http://student.nu.ac.th/nackie/Instruction/
teeraphong.blogspot.com/2007/09/blog-post_6935.html

http://aom-edcom.blogspot.com/2007/09/blog-post_4418.html


การผลิตสื่อการสอน



1.ความหมายของเทคโนโลยีและสื่อการเรียนการสอน

เทคโนโลยีและสื่อการเรียนการสอนนั้น เป็นการนำวัตถุ เช่น เครื่องมือ อุปกรณ์ที่ใช้ในงานเทคนิคต่างๆ องค์ความรู้ กิจกรรม กรรมวิธี ระบบเทคนิคเชิงสังคม (Sociotechnical System) มาเป็นสิ่งเอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน หรือที่เรียกว่า สื่อการเรียนการสอน (Instructional Media) โดยมุ่งหวังการบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน และให้ผู้เรียนมีกระบวนการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

2.ระบบการผลิตสื่อการเรียนการสอน

ระบบการผลิตสื่อการเรียนการสอน หมายถึง การนำเอาวิธีการระบบมาใช้ในการผลิตสื่อการเรียนการ สอน โดยมีขั้นตอนทั้งหมด 6 ขั้นตอน ซึ่งมีความสัมพันธ์กัน ดังนี้

1) การกำหนดวัตถุประสงค์ โดยพิจารณาวัตถุประสงค์ของสื่อ ที่สามารถส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนได้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการใช้สื่อชนิดใด ภายใต้เงื่อนไข และบริบทใด

2) การเลือก การเลือกสื่อที่สัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ของการเรียน ความสามารถของผู้เรียน เนื้อหา และค่าใช้จ่าย ตลอดจนวิธีการใช้สื่อ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์

3) การผลิต เป็นการดำเนินการตามที่ได้เลือกสื่อไว้ แล้วพิจารณา จัดลำดับขั้นตอนในการผลิต ตั้งแต่กำหนดผู้ผลิต การเลือกวัสดุ เครื่องมือ อุปกรณ์ ภายใต้ระยะเวลาที่เหมาะสม และกำหนดโครงสร้างเนื้อหาในการผลิตสื่อให้มีความสัมพันธ์กัน

4) การทดสอบก่อนใช้ ระหว่างการใช้ และภายหลังจากการใช้สื่อ เป็นการตรวจสอบประสิทธิภาพของสื่อเพื่อการได้มาซึ่งข้อมูล ความเหมาะสมของสื่อ หรือข้อบกพร่องที่พบในสื่อนั้น ว่าควรได้รับการปรับปรุง แก้ไขให้เหมาะสมกับบริบทในการเรียนของผู้เรียน

5) การนำไปใช้ เป็นการนำสื่อไปใช้จริง เมื่อผ่านการทดสอบประสิทธิภาพและรับรองผลมาแล้ว

6) การบำรุงรักษา เป็นขั้นตอนต่อเนื่อง เพื่อให้สื่อที่ผลิตขึ้นนั้นมีสภาพพร้อมในการใช้งานได้เสมอ ยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานและคุ้มค่า จึงรวมถึงวิธีการใช้สื่อที่ถูกต้อง ตลอดจนวิธีการจัดเก็บรักษาสื่อที่เหมาะสม

3. รูปแบบการผลิตสื่อการเรียนการสอน

3.1)รูปแบบการออกแบบระบบการผลิตคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)

1) Roblyer and Hall (1985)รูปแบบการออกแบบระบบการผลิต CAI ของ Roblyer and Hall เป็นรูปแบบเชิงระบบในการออกแบบ โดยพัฒนาจากรูปแบบการออกแบบการเรียนการสอน(The Systems Approach Model for Designing Instruction)ของ Dick and Carey (1978)รูปแบบการออกแบบระบบการผลิต CAI ของ Roblyer and Hall (1985 : 14-31)ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้
1) ขั้นตอนการออกแบบ (Design)
2) ขั้นตอนการสร้างบทเรียน (Pre-Programming Development)
3) ขั้นตอนการประเมินผลและแก้ไขบทเรียน (Development and Evaluation)
รายละเอียดของขั้นตอนทั้ง 3 ขั้นตอนของ รูปแบบการออกแบบระบบการผลิต CAI ของRoblyer and Hall ถูกนำเสนอในรูปผังดำเนินการที่มีความสัมพันธ์กัน ดังนี้

1) ขั้นตอนการออกแบบ (Design)

1.1) การกำหนดเป้าหมายการสอน ในส่วนนี้จะครอบคลุมถึงขั้นตอนต่างๆ ดังนี้- การวิเคราะห์ปัญหา- การศึกษาลักษณะของผู้เรียน- การเขียนเป้าหมาย- กำหนดบรรยากาศการเรียนรู้ที่เหมาะสม

1.2) การวิเคราะห์รูปแบบการสอนที่เหมาะสม ในขั้นตอนการวิเคราะห์จะครอบคลุมถึงขั้นตอนต่างๆ ดังนี้- การพัฒนาแผนที่การเรียน (Learning Map) ได้แก่ การวิเคราะห์เป้าหมายและกำหนดทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้- การกำหนดทักษะพื้นฐานที่จำเป็น (Prerequisite Skills)- การกำหนดประเภทของทักษะ เป็นการแยกแยะ(Discrimination) กรอบแนวคิดหลัก (Concepts) หรือการเรียนรู้ถึงกฎเกณฑ์ (Rule learning)

1.3) การกำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ในขั้นตอนนี้คือการกำหนดสิ่งที่ผู้เรียนจะสามารถทำได้ภายใต้เงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่งหลังจากเรียนจบบทเรียนแล้ว

1.4) การกำหนดวิธีการประเมินผล ในขั้นตอนนี้มีการกำหนดวิธีการประเมินผลที่ประกอบด้วย การกำหนดการทดสอบที่จำเป็น การพัฒนารูปแบบข้อสอบและการหาความเชื่อมั่น(Reliability) และค่าความเที่ยง (Validity) ของแบบทดสอบ

1.5) การออกแบบกลวิธีการสอน เป็นการออกแบบกลวิธีการสอนที่เหมาะสมกับการสอนในแต่ละวัตถุประสงค์ นอกจากนี้ในขั้นตอนนี้ได้พิจารณาถึงหลักการออกแบบการสอน 9 ขั้นของGagne& Briggs (1974) ได้แก่ ดึงดูดความสนใจ บอกวัตถุประสงค์ ทบทวนความรู้เดิม การเสนอเนื้อหาใหม่ ชี้แนวทางการเรียนรู้ กระตุ้นการตอบสนอง ให้ผลป้อนกลับ ทดสอบความรู้ การจำและนำไปใช้การพิจารณาออกแบบกลวิธีการสอนขึ้นอยู่กับประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วย กล่าวคือ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนปะเภทติวเตอร์ (Tutorial) จะครอบคลุมขั้นตอนการสอนทั้ง 9 ขั้น หากเป็นคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทแบบฝึกหัด (Drills) จะครอบคลุมขั้นตอนการกระตุ้นตอบสนองและให้ผลป้อนกลับเป็นหลัก ส่วนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบสถานการณ์จำลอง (Simulations) จะครอบคลุมขั้นตอนการชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ และหรือการปฏิบัติ
2) ขั้นตอนการสร้างบทเรียน (Pre-Programming Development)

2.1) การเขียนผังงานและการสร้างสตอรี่บอร์ด การเขียนผังงานจะช่วยให้เกิดความชัดเจนในการทำงานโดยเฉพาะการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีโปรแกรมเมอร์หลายคนทำงานร่วมกัน เหมือนเป็นพิมพ์เขียวในการทำงาน ส่วนการสร้างสตอรี่บอร์ดมีความจำเป็นเพราะเป็นการกำหนดรายละเอียดต่างๆที่ปรากฏบนหน้าจอ ซึ่งเป็นการนำผังงานมาลงรายละเอียด

2.2) การเขียนเอกสารประกอบ เป็นเอกสารประกอบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ถูกพัฒนาให้เหมาะสมกับความต้องการ ซึ่งทีมงานได้ออกแบบระบบการจัดการในการจัดเก็บข้อมูล การวางแผน ในการผลิตเอกสารเพื่อสนับสนุนระบบบริหารจัดการ
2.3) การทบทวนก่อนสร้างโปรแกรม ก่อนที่จะสร้างโปรแกรมจริงนั้น จะมีการทบทวนบทเรียน เพื่อประหยัดเวลาในการแก้ไขโปรแกรมภายหลัง นอกจากทีมงานทบทวนด้วยตนเองแล้วยังให้ครูผู้สอนช่วยในการทบทวนการออกแบบด้วย

3) ขั้นตอนการประเมินผลและแก้ไขบทเรียน (Development and Evaluation)

3.1) การสร้างโปรแกรมขั้นแรก การสร้างโปรแกรมขั้นแรกเป็นการสร้างหน้าจอ และลำดับของหน้าจอตามการออกแบบที่ทำไว้ หลังจากนั้นมีการพัฒนาการนำเสนอบนหน้าจอและรายละเอียดต่างๆ

3.2) การทดสอบการใช้บทเรียน หลังจากมีการสร้างโปรแกรมขั้นแรกแล้ว จะมีการทดสอบการใช้บทเรียนกับผู้เรียนที่เป็นประชากรในกลุ่มเป้าหมายและเก็บข้อมูลสำคัญในการทดสอบ เช่น คะแนนสอบ ทัศนคติของผู้เรียนและผู้สอน

องค์ประกอบของการผลิตสื่อการสอนที่มีคุณภาพ
องค์ประกอบของการผลิตสื่อการสอนที่มีคุณภาพ ถ้าพูดในแง่ของบุคลากร จะประกอบด้วย
1. Subject matter expert (SME) หรือ Content expert เป็นบุคคลที่เป็นเจ้าของเนื้อหา เช่น ครู อาจารย์ หรือ เจ้าหน้าที่ในหน่วยต่าง ๆ ที่มีเนื้อหาที่ตนเองมีหน้าที่รับผิดชอบอยู่

2. Graphic designer เป็นบุคคลที่สร้างสื่อประสม เช่น ภาพ รูปวาด ไดอะแกรม เสียง เพลง ภาพยนตร์ แอนิเมชั่น เป็นต้น ในมุมมองที่ Content expert ต้องกา

3. Instructional designer เป็นบุคคลที่ออกแบบคำสอนว่า ควรจะสื่อให้ผู้เรียนเข้าใจได้อย่างไร ในรูปแบบใด

4. Computer programmer เป็นบุคคลที่เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อร้อยเนื้อหาของ Content expert และสื่อประสมต่างๆ ของ Graphic designer เข้าด้วยกัน ให้อยู่ในรูปแบบการนำเสนอของ Instructional designer
ในปัจจุบัน เนื่องจากมีโปรแกรมสร้างสื่อการสอนที่สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น ดังนั้น Content expert อาจเรียนรู้เป็น Computer programmer ได้ไม่ยากนัก และมักจะสอนมานานจึงมีความสามารถในการออกแบบคำสอนได้พอสมควร จึงพอจะอนุโลมว่าสามารถเป็น Instructional designer ได้ในตัว แต่มักพบว่าการเป็น Graphic designer จะกระทำได้ยากเนื่องจากศิลปการทำกราฟิกส์หรือมัลติมีเดียนั้น ต้องการความเป็นศิลปส่วนบุคคลซึ่งเรียนรู้ได้ยากกว่าความเป็นศาสตร์ที่ Content expert รู้อยู่แล้ว รวมทั้งการเขียนโปรแกรมและการออกแบบคำสอน
ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าปัจจัยความสำเร็จของการสร้างสื่อการสอนที่มีคุณภาพ จึงอยู่ที่ความสามารถในการสื่อสารระหว่างบุคลากรทั้ง 4 ประเภทดังกล่าวข้างต้น ให้เข้าใจเนื้อหาและวัตถุประสงค์ตรงกัน และทำงานร่วมกันอย่างผสมกลมกลืนกัน

ที่มา:http://gotoknow.org/blog/edutech/5693

http://supanida-opal.blogspot.com/2007/05/blog-post_2592.html



แนวคิดทางการสื่อสาร


สาระสำคัญ
1. ความหมายและองค์ประกอบของการสื่อสาร
2. บริบทและองค์ประกอบของสาธารณะ

----------------------------------------------------

ความหมาย Communication

มาจากภาษาลาตินว่า Communis ซึ่งมีความหมายตรงกับคำว่า Common แปลว่า ความร่วมมือกันหรือความคล้ายคลึงกัน การสื่อสารจึงหมายถึง

“การกระทำของคนเราที่มุ่งสร้างความร่วมมือกันหรือคล้ายคลึงกัน นั่นคือการพยายามแลกเปลี่ยนข่าวสาร ความคิดและทัศนคติซึ่งกันและกัน โดยอาศัยความสัมพันธ์ของทั้งสองฝ่ายเป็นที่ตั้งเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน”Wilbur Schramm

“การสื่อสารคือกระบวนการแลกเปลี่ยนข่าวสารเกิดขึ้นโดยการถ่ายทอดสารจากบุคคลฝ่ายหนึ่งซึ่งทำหน้าที่ส่งสารผ่านสื่อหรือช่องทางต่าง ๆ ไปยังผู้รับสารโดยมี วัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง” สุมน อยู่สิน


องค์ประกอบการสื่อสาร
SIMMCREFI
องค์ประกอบ 9 ประการ ในการนำเสนอด้วยสื่อใดๆ
S= source (sender) แหล่งที่ส่งสารออกไป อาจเป็นบุคคล, องค์กรก็ได้
I= information ข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเป็นสิ่งที่หยิบฉวยเอาได้ทั่วไป อาจเป็นข้อความ ภาพ วิดีโอ เสียง สัญลักษณ์ ลีลา อารมณ์ เวลา (infotime)
M= message สิ่งที่ผ่านการกลั่นกรองแล้ว เพื่อนำเสนอ อาจเป็น ข้อความ (text), ภาพ (image), ภาพเคลื่อนไหว (Video & animation), เสียง (wave, midi, voice), multimedia, สัญลักษณ์, ลีลา, อารมณ์, เวลา
M= media สื่อ (สิ่งที่บรรจุด้วย message) = message จะถูกนำไปวางใน media = media คือที่อยู่ของ message ตัวอย่างสื่อ เช่น เทป, แผ่นซีดี, flash drive, harddisk, ฟิล์มสไลด์, คลื่นแม่เหล็ก, คลื่นไฟฟ้า (digital), คลื่นเสียง (radio), คลื่นอารมณ์ (โกรธ เกลียด พยาบาท รัก ชอบ-พอใจ เฉยๆ), ช่วงเวลา
C= channelช่องทาง หรือพาหะ พาสื่อ (media) จากแหล่งต้นทาง ไปยังผู้รับ อาจผ่านอุปสรรคต่างๆ (noise) ทำให้ผู้รับ รับสารได้ไม่ดี ต้องกำจัด noise หรือ ส่งข้อมูลซ้ำ เพิ่มความแรง ความถี่ ในการส่ง ฯลฯ
R= recieverผู้รับสาร มี 5 กลุ่ม * Initiator กลุ่มผู้แนะนำ-ชักชวน (เพื่อนบ้าน เพื่อสนิท ญาติ)* Influence กลุ่มผู้มีอิทธิพลในการเลือกรับฟัง-รับชม (ครู พ่อ แม่ พระ หมอดู แฟน)* Decision Maker กลุ่มผู้ตัดสินใจเลือกข่าวสาร (คนซื้อ นสพ./ซีดี คนหยิบแผ่นใส่เครื่องอ่าน คนเลือกสถานี)*Buyer กลุ่มผู้จ่ายค่าบริการ เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าซื้อ tv ค่าเช่าซีดี*Consumer กลุ่มผู้รับรู้-บริโภค (คนอ่าน/คนดู/คนฟัง)
กลุ่มเป้าหมายผู้รับสาร ที่ควรรู้ แบ่งตามประเทภ*Demographic Background ชื่อ อายุ ที่อยู่ ที่ติดต่อ อาชีพ ฯลฯ*Psychographic Background ชอบ ไม่ชอบ ความคิด วิสัยทัศน์ อุดมการณ์*Media Usage พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ (อยากรับ เวลาใด อารมณ์ใด โอกาสใด จำนวนครั้ง)*Consumer Behavior พฤติกรรมการบริโภค (บ่อย นานๆครั้ง ประจำ เพิ่งครั้งแรก ครั้งสุดท้าย)
E= effectพฤติกรรมการรับรู้ ยอมรับ รู้จัก ของผู้รับสาร
F= feedbackพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เปลี่ยนแปลงอะไรบ้างเปลี่ยนแปลงความรู้ Knowledgeเปลี่ยนแปลงทัศนคติ Attitudeเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (Practice)
I= interactionพฤติกรรมตอบรับ two-way communication


ประเภทการสื่อสาร


*การสื่อสารภายในบุคคล Intrapersonnal Communication
บุคคลคนเดียวทำหน้าที่ทั้งเป็นผู้ส่งสารและผู้รับสาร จึงเป็นพื้นฐานของการสื่อสารประเภทอื่น

*การสื่อสารระหว่างบุคคล Interpersonnal Communication
เป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไปทำการแลกเปลี่ยนข่าวสารซึ่งกันและกัน
การสื่อสารกลุ่มย่อย
Small-Group Communication

*การสื่อสารระหว่างบุคคลกลุ่มเล็ก โดยจะมีจำนวนเท่าไรไม่มีกำหนดแน่นอนตายตัวที่อาจมีประสบการณ์คล้ายคลึงกัน เช่น การเรียนในห้องเรียน การประชุม การพบประสังสรรค์

*การสื่อสารสาธารณะ Public Communication การสื่อสารกับกลุ่มคนจำนวนมาก เช่น การพูดในห้องประชุมขนาดใหญ่ การปราศรัยหาเสียงของนักการเมือง หรือการพูดในที่ชุมนุมชน

*การสื่อสารมวลชน การสื่อสารที่มีบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก ทั้ง ผู้ส่งสารและผู้รับสาร ผู้ส่งสารจะมีลักษณะเป็นองค์กรที่มีการทำงานอย่างเป็นระบบ เช่น สำนักงานหนังสือพิมพ์ สถานีวิทยุกระจายเสียง สถานีวิทยุโทรทัศน์

ความสำคัญของการสื่อสาร
*ความสำคัญของการสื่อสารที่มีต่อสังคม
*ความสำคัญต่อการดำรงชีวิต

คนเราไม่ว่าจะอาศัยอยู่แห่งหนตำบลใดก็ตามสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยอาศัยสื่อ
*ความสำคัญต่อการเมืองและการปกครองประเทศ
ในการกำหนดนโยบายหรือการดำเนินการใด ๆ ของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับประชาชน รัฐบาลต้องสร้าง
ความเข้าใจกับประชาชนโดยใช้สื่อ
*ความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ
การสื่อสารช่วยสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนและนักลงทุนหรือผู้ประกอบการ หรือส่งเสริม
การตลาด และการโฆษณาสินค้า เช่น อธิบายประโยชน์ของโรงงาน อุตสาหกรรมที่จะนำมาสร้างใน
ชุมชน
*ความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
การสื่อสารช่วยพัฒนาความรู้ให้กว้างขวาง ให้การศึกษาแก่ประชาชนทั้งในระบบและนอกระบบ
โรงเรียน ทำให้เข้าใจบทบาทและสถานภาพที่แตกต่างกันของบุคคลอื่นในสังคม

หน้าที่ของการสื่อสาร

1. หน้าที่โดยชัดแจ้ง (manifest function)
การสื่อสารสามารถทำหน้าที่ได้ตามผลที่ผู้ส่งสารคาดหวังเอาไว้
2. หน้าที่แฝงหรือซ่อนเร้น (latent function)
การสื่อสารทำหน้าที่ในทางที่ไม่คาดหวังตามผลที่ผู้ส่งสารคาดหวังเอาไว้

หน้าที่ของสื่อสารมวลชนต่อสังคม

1. หน้าที่เสนอข่าวสาร เป็นการเสนอข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมาไม่มีการแทรกความเห็นหรือแปลความหมายของข่าวสารแต่อย่างใด
2. หน้าที่เสนอความเห็น เป็นการให้คำอธิบายความหมายเกี่ยวกับเหตุการณ์หรือ ข้อเท็จจริงเพื่อผู้รับสารเปลี่ยนแปลงความเชื่อ ทัศนคติ หรือพฤติกรรม
3. หน้าที่บริการด้านการศึกษา มุ่งเสนอข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เป็นประโยชน์เพื่อช่วยในการตัดสินใจและดำเนินชีวิตประจำวันแก่ประชาชน
4. หน้าที่ให้บริการบันเทิง มุ่งเร้าอารมณ์และความรู้สึกมากกว่าที่จะเสริมสร้างความคิดและเปลี่ยนพฤติกรรมของคน

บริบทและองค์ประกอบของสาธารณะ

1. ทุน และ ทรัพยากร
1.1 ทรัพยากรวัตถุ และธรรมชาติ
-วัตถุดิบ-บริสุทธิ์ (raw material)-วัตถุดิบ-เวียนใหม่ (recycle material และรวมถึง reject, reuse, reform)-วัตถุแปรรูป (modify material) -วัตถุสำเร็จรูป (commodity)-วัตถุที่มีสิทธิครอบครองได้โดยธรรมชาติ (แผ่นดิน, อากาศ, แสงแดด, น้ำตามแหล่งธรรมชาติ) **มี “ค่า” สูง แต่มี “ราคา” ต่ำ**-วัตถุที่มีลิขสิทธิ์ หรือมีสิทธิครอบครองตามที่กฎหมายกำหนด **มี “ราคา” สูง แต่มี “ค่า” ต่ำ**
** การวัด “ค่า” ขึ้นอยู่กับ 5t (true, trust, taste, tangible, test)** “ราคา” ขึ้นอยู่กับ ปริมาณความต้องการอยากตอบสนองสิ่งเร้า ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งมีหน่วยการวัดที่สังคมยอมรับ
1.2 ทรัพยากรบุคคล และทุนทางสังคม
-คน-ระบบ-สังคม สิ่งแวดล้อม-สุขภาวะ (กาย จิต จิตวิญญาณ สังคม-สาธารณโภคี (ระบบประกันคุณภาพ และสวัสดิการ)
1.3 ทรัพยากรเวลา และความรัก
1.4 ทรัพยากรการสื่อสาร
-ระบบจำลองการสื่อสาร SMCR-สื่อ และสื่อสารมวลชน-องค์ประกอบและคุณสมบัติ (place, position, time, quality message, access & connect, attention, motion)
2. การใช้อำนาจ และการตอบสนองต่อการใช้อำนาจ
2.1 ระบบธนาธิปไตย
2.2 ระบบประชาธิปไตย
2.3 ระบบอัตตาธิปไตย
2.4 ระบบธรรมาธิปไตย


แนวคิด ทฤษฎี ด้านการสื่อสาร และสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับนิเทศศาสตร์สาธารณะ

ทฤษฎีสื่อสารมวลชน Theories of the Press
ทฤษฎีว่าด้วยองค์ประกอบของการสื่อสาร Theory Component in Communication
ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล Individual Differences Theory
ทฤษฎีการแบ่งกลุ่มทางสังคม Social Categories Theory
ทฤษฎีการสื่อสารแบบสองขั้นตอน Two-Step Flow of Communication Theory
ทฤษฎีสารสนเทศ Information Theory

ผู้นำความคิดเห็น Opinion Leaders or Influentials
การกำหนดประเด็นการรับรู้ข่าวสาร Agenda Setting
ทฤษฎีการสื่อสารในองค์กร Organizational Communication
ผู้เฝ้าประตูข่าวสาร Gatekeeper
การเซ็นเซอร์ Censorship

การวิเคราะห์ผู้รับสาร General Concept of Audience Analysis
การวิเคราะห์ผู้รับสารกับการรับรู้ Audience Analysis and Perception
การรณรงค์เพื่อการสื่อสารประเด็นสาธารณะ Public Communication Campaign
การสื่อสารสาธารณะ
การสื่อสารระหว่างบุคคล Interpersonal Communication
การสื่อสารทางการเมือง Political Communication
การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม Intercultural Communication
การเลือกรับรู้ Selective Perception
การเลือกเปิดรับ Selective Exposure
การเลือกจดจำ Selective Retention

การผลิตข่าว News Production
การรายงานข่าวและการนำเสนอข่าว News Reporting
การบรรณาธิกรณ์ข่าว

การผลิตรายการวิทยุ Radio Production
การผลิตรายการโทรทัศน์ TV Production

แนวคิดด้านการประชาสัมพันธ์ Public Relations
การเผยแพร่ Publicity
ภาพลักษณ์ Image
การประชาสัมพันธ์เพื่อการตลาด Marketing Public Relations

แนวคิดด้านการโฆษณาAdvertising
ทฤษฎีสัญญะวิทยา

การชักจูงใจ Persuasion
ผลของการเรียนรู้ Learning Effect
การเรียนรู้ทางสังคม Social Learning
การเปลี่ยนค่านิยม Value Change
ความเข้าใจ Understanding
ทัศนคติ Attitude

กระบวนการยอมรับสิ่งใหม่ Adoption Process
รูปแบบการดำเนินชีวิต Lifestyle
ทฤษฎีเกี่ยวกับบุคลิกภาพ Theory of Personality

แนวคิดเกี่ยวกับการตลาด Marketing
การสื่อสารการตลาด Marketing Communication
การสื่อสารการตลาดแบบผสมผสาน Integrated Marketing Communication

ความหมายทางทฤษฎี

ทฤษฎี ประกอบด้วยสาระพื้นฐาน 2 ประการ คือ
แนวคิดและข้อความที่สัมพันธ์กับแนวคิดนั้น และทฤษฎีย่อมประกอบด้วยแนวคิดอย่างน้อยที่สุด 2 แนวคิด และข้อความที่อธิบายหรือคาดการณ์ล่วงหน้าถึงความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดนั้น
แนวคิด บรรยายถึงจุดม่งหมายและหน้าที่

ทฤษฎี (Theory) คือ ข้อความ หรือข้อสรุปซึ่งปรากฎอยู่ในรูปประโยคเชิงเหตุผล เพื่อการบรรยาย อธิบาย หรือทำนายปรากฎการณ์ หรือเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับปรากฎการณ์ ภายใต้บริบทใดบริบทหนึ่ง หรือหลากหลายบริบท
โดยทั่วไปแล้ว ข้อความ หรือ ข้อสรุปที่นำเสนอในทฤษฎี ประกอบด้วย
1. ประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับปรากฎการณ์หนึ่งๆ
2. คำนิยาม หรือคำอธิบายความหมายของประเด็นต่างๆเหล่านั้น
3. หลักการ ข้อเท็จจริง และสมมติฐานเกี่ยวกับปรากฎการณ์ในด้านต่างๆอย่างเป็นระบบ เช่น สาเหตุในการเกิดปรากฎการณ์ ขั้นตอนการเกิดปรากฎการณ์ และความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นต่างๆในเชิงเหตุผล ตลอดจนข้อตกลงเบื้องต้นในการศึกษาปรากฎการณ์

แนวคิด (Concept) คือข้อสรุป ที่บุคคลใช้ในการอธิบายปรากฎการณ์ต่างๆที่ตนสามารถสังเกตเห็นโดยตรง หรืออาจรับรู้ทางอ้อมผ่านการถ่ายทอด การบอกเล่า คำอธิบายของผู้อื่น
ประเภทของแนวคิด
1. แนวคิดเชิงรูปธรรม เป็นแนวคิดที่เราสามารถระบุคำนิยามศัพท์เกี่ยวกับองค์ประกอบต่างๆของแนวคิดได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะในรูปของการสังเกต การวัด หรือการประเมินผล
2. แนวคิดเชิงนามธรรม เป็นแนวคิดที่เราไม่ได้ระบุคำนิยามศัพท์ในเชิงการสังเกต การวัด หรือการประเมินผล ไว้อย่างชัดเจน


-------------------------------------------------------------------------

ที่มา www.krirk.ac.th/.../Communication.../communications/.../public_communication.doc -




8/04/2552

สัปดาห์ที่10 บันทึกแนวคิดการสื่อสาร

MC 111 สรุปทฤษฎีการสื่อสาร
บทที่ 1การสื่อสาร
คำนำ ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์มาแล้วมนุษย์จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับการสื่อสารตั้งแต่เกิดจนตาย ในสมัยก่อนการติดต่อสื่อสารจะใช้อาณัติสัญญาณต่างๆ อาทิเช่น เสียงกลอง ควันไฟ ฯลฯ ต่อมาการติดต่อสื่อสารได้เปลี่ยนเป็นการเขียนภาพไว้ตามผนังถ้ำ เช่น ภาพครอบครัว ภาพการล่าสัตว์ แล้วพัฒนาต่อไปเป็นการประดิษฐ์ ตัวอักษรขึ้นมาใช้ การติดต่อสื่อสารหรือสื่อความหมายก็ใช้ในลักษณะการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งลักษณะหลังนี้ทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างกว้างขวางมากขึ้น ประกอบกับเทคโนโลยีทางการสื่อสารที่ได้รับการพัฒนาอย่างมาก จึงทำให้การติดต่อสื่อสารของมนุษย์เป็นไปได้อย่างสะดวก รวดเร็ว กว้างขวาง และมีประสิทธิภาพมากขึ้น จนถึงขั้นที่อาจจะกล่าวได้ว่า สังคมเราทุกวันนี้เป็นสังคมของข้อมูลข่าวสาร (Information Society) นั่นก็คือ ข่าวสารต่างๆ เข้ามามีส่วนสำคัญหรือมีบทบาทในการดำรงชีวิตของมนุษย์เกือบทุกรูปแบบนั่นเองในวันหนึ่งๆ จะมีการสื่อสารเกิดขึ้นมาเกือบทุกรูปแบบ ตัวอย่างเช่น การสื่อสารภายในตัวบุคคลจะเกิดขึ้นเมื่อเรานอนหลับแล้วฝันหรือละเมอ การสื่อสารระหว่างบุคคลจะเกิดขึ้นเมื่อเราพูดคุยกับคนใดคนหนึ่ง การสื่อสารมวลชนจะเกิดขึ้นเมื่อเราอ่านหนังสือพิมพ์ ฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ หรือการสื่อสารกลุ่มใหญ่จะเกิดขึ้นเมื่อเราฟังบรรยายในห้องเรียน เป็นต้น ดังนั้น จะเห็นได้ว่าในชีวิตประจำวันของมนุษย์ทุกคน จะต้องพบกับกระบวนการสื่อสารเหล่านี้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะอยู่ในบทบาทหรือสถานภาพแบบใดก็ตาม เพราะฉะนั้น ตราบใดก็ตามที่มนุษย์จำเป็นจะต้องอยู่ร่วมกันเป็นสังคม การติดต่อสื่อสารย่อมต้องมีความจำเป็นอย่างแน่นอน ทั้งนี้เพื่อสร้างความเป็นระเบียบในการอยู่ร่วมกัน สร้างความเข้าใจ ความช่วยเหลือ และความสามัคคี เป็นต้น
โดยทั่วไปภาษาที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสารจะมี 2 ประเภท คือ
1. ภาษาที่ใช้คำพูดหรือวัจนภาษา เช่น ภาษาพูด หรือภาษาเขียน
2. ภาษาที่ไม่ใช้คำพูดหรืออวัจนภาษา เช่น สัญลักษณ์ สัญญาณ หรืออากัปกิริยาต่างๆ เช่น การยิ้ม การขมวดคิ้ว การโบกมือ การหาว การส่งเสียงโห่ร้อง เป็นต้น
ในหลักการสื่อสารไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารเชิงวัจนภาษาหรือเชิงอวัจนภาษาก็ตาม การสื่อสารจะสัมฤทธิ์ผลได้ก็ต่อเมื่อ การสื่อสารนั้นเป็นที่เข้าใจระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารเป็นสำคัญ
ความหมาย
"การสื่อสาร" ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า "Communication" ซึ่งได้มีผู้ให้ความหมายไว้ต่างๆ กัน ดังนี้
- จอร์จ เอ มิลเลอร์ (George A. Miller) กล่าวว่า "การสื่อสาร หมายถึง การถ่ายทอดข่าวสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง"
- คาร์ล ไอ โฮฟแลนด์ (Carl I. Hoveland) และคณะให้ความเห็นว่า "การสื่อสาร คือ กระบวนการที่บุคคลหนึ่ง (ผู้ส่งสาร) ส่งสิ่งเร้า (ภาษาพูดหรือ ภาษาเขียน) เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคคลอื่นๆ (ผู้รับสาร)"
- วอร์เรน ดับเบิลยู วีเวอร์ (Warren W. Weaver) ให้คำอธิบายเกี่ยวกับการสื่อสารว่า "การสื่อสารมีความหมายกว้าง ครอบคลุมถึงกระบวนการทุกอย่างที่จิตใจของคนๆ หนึ่งอาจมีผลต่อจิตใจของคนอีกคนหนึ่ง การสื่อสารจึงไม่หมายความแต่เพียงการเขียนและการพูดเท่านั้น หากแต่ยังรวมไปถึงดนตรี ภาพ การแสดง บัลเล่ต์ และพฤติกรรมทุกพฤติกรรมของมนุษย์อีกด้วย
- เจอร์เกน รอยซ์ และ เกรกอรี เบทสัน (Jurgen Ruesch and Gregory Bateson) ให้ความเห็นว่า "การสื่อสารไม่ได้หมายถึงการถ่ายทอดสารด้วยภาษาพูด ภาษาเขียนที่ชัดแจ้ง และแสดงเจตนารมณ์เท่านั้น แต่การสื่อสารยังรวมไปถึงกระบวนการทั้งหลายที่คนมีอิทธิพลต่อกันด้วย"
- วิลเบอร์ ชแรมม์ (Wilbur Schramm) กล่าวว่า "การสื่อสาร คือ การมีความเข้าใจร่วมกันต่อเครื่องหมายที่แสดงข่าวสาร (Information Signs)"
- ชาร์ลส์ อี ออสกูด (Charles E. Osgood) กล่าวว่า "ความหมายโดยทั่วไป การสื่อสารจะเกิดขึ้นเมื่อฝ่ายหนึ่งคือผู้ส่งสารมีอิทธิพลต่ออีกฝ่ายหนึ่งคือผู้รับสาร โดยใช้สัญลักษณ์ต่างๆ ซึ่งถูกส่งผ่านสื่อที่เชื่อมระหว่างสองฝ่าย"
- เอเวอเรตต์ เอ็ม โรเจอร์ส และ เอฟ ฟลอยด์ ชูเมคเกอร์ (Everett M. Rogers and F. Floyd Shoemaker) ให้ความหมายว่า "การสื่อสาร คือ กระบวนการซึ่งสารถูกส่งจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร"
- จอร์จ เกิร์บเนอร์ กล่าวว่า "การสื่อสาร คือ กระบวนการที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารมีปฏิสัมพันธ์กันในสภาพแวดล้อมทางสังคมเฉพาะ
" โดยสรุป "การสื่อสาร คือ กระบวนการของการถ่ายทอดข่าวสาร (Message) จากบุคคลฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า ผู้ส่งสาร (Source) ไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งที่เรียกว่า ผู้รับสาร (Receiver) โดยผ่านสื่อ (Channel)" การสื่อสารระหว่างมนุษย์นอกจากจะเป็นเพียงการส่งสารเพื่อก่อให้เกิดผลตามเจตนารมณ์ของผู้ส่งสารแล้ว ยังหมายความรวมไปถึง การรับสาร ปฏิกิริยาตอบกลับ (Feedback) และอันตรกิริยาด้วย อันตรกิริยาหรือ Interaction ก็คือ ปฏิกิริยาที่มีต่อกันระหว่างผู้สื่อสารทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งฝ่ายผู้ส่งสารกับฝ่ายผู้รับสาร ซึ่งปฏิกิริยาที่มีต่อกันนี้จะเป็นตัวนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจร่วมกันในเรื่องของความหมาย (Meaning) อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายๆ อย่าง ดังนั้นการสื่อสารในความหมายนี้ก็คือ การสื่อสารแบบ 2 ทาง หรือ กระบวนการ
2 วิถี (Two - way Communication)การสื่อสารแบบ 2 ทาง หากเรานำไปเปรียบเทียบกับวงจรความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารแล้ว วงจรที่เกิดขึ้นจะเป็นแบบ 2 วงจร กล่าวคือ มีการโต้ตอบแลกเปลี่ยนความหมายที่มีอยู่ในสมองของบุคคล 2 คน แต่วงจรอันนี้อาจจะเกิดขึ้นเพียงวงจรเดียวก็ได้ ถ้าหากว่าผู้ส่งสารกับผู้รับสารมีความสนิทสนมกันมากๆ จนถึงขั้นที่มองตาก็รู้ใจแล้ว เวลาทำการสื่อสารวงจรของการแลกเปลี่ยนความหมายที่มีอยู่ในสมอง อาจจะเกิดขึ้นเพียงวงจรเดียว ตัวอย่างเช่น สามีพูดกับภรรยาว่า "วันนี้ออกไปกินข้าวนอกบ้านกันเถอะ" ภรรยาก็รู้ทันทีว่าสิ่งที่สามีพูดหมายถึงอะไรโดยไม่ต้องถามต่อ แต่ว่าอาจจะใช้อากัปกิริยาตอบกลับ เช่น ส่งสายตาในทำนองดีใจ และขอบคุณ หรือหอมแก้มสามี 1 ฟอด แสดงความขอบคุณ วงจรที่เกิดขึ้นจะมีแค่วงจรเดียว (วงจรของสามี) ในทางตรงกันข้าม ถ้าหากว่าภรรยาตอบกลับไปด้วยคำพูดว่า "เนื่องจากโอกาสพิเศษอะไรหรือพี่" สามีตอบกลับว่า "วันนี้พี่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการ เราไปฉลองกันเถอะ" วงจรที่เกิดขึ้นจะกลายเป็น 2 วงจร จะถือว่ามีการสื่อสารเกิดขึ้นแล้วฉะนั้น การสื่อสารแบบวงจรเดียวจะไม่มีปฏิกิริยาตอบกลับหรือ Interaction จึงเข้าข่ายความหมายโดยทั่วๆ ไปที่บอกว่า "การสื่อสาร คือ การถ่ายทอดข่าวสารจากที่หนึ่ง ไปยังอีกที่หนึ่ง"
ความสำคัญ
หากพิจารณาถึงความสำคัญของการสื่อสารที่มีต่อมนุษย์แล้วสามารถแบ่งได้เป็น 5 ประการ คือ
1. ความสำคัญต่อความเป็นสังคม การที่มนุษย์จะอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเป็นสังคมได้ จำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารเป็นพื้นฐาน เพราะการสื่อสารทำให้เกิดความเข้าใจ และทำความตกลงกันได้ มีการติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างระเบียบของสังคมให้เป็นที่ยอมรับระหว่างสมาชิก ทั้งนี้เพื่อจะได้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขเป็นสังคม
2. ความสำคัญต่อชีวิตประจำวัน การสื่อสารมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก เรียกได้ว่าตลอดเวลาที่เราตื่น เราจะทำการสื่อสารอยู่ตลอดเวลา ไม่เว้นแม้กระทั่งเวลาเราหลับอยู่ หากเราฝันหรือละเมอเรื่องใดก็ตาม นั่นก็ถือว่าเป็นการสื่อสารรูปแบบหนึ่ง คือ การสื่อสารภายในตัวบุคคล (Intrapersonal Communication)
3. ความสำคัญต่ออุตสาหกรรมและธุรกิจปัจจุบันวงการอุตสาหกรรมมีการปฏิวัติทางด้านเทคโนโลยีการผลิต ตลอดจนการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานทำให้ต้องอาศัยการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพราะโรงงานอุตสาหกรรมถือเป็นองค์กรหรือสถาบันหนึ่งที่ต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมและประชาชน โดยการสื่อสารที่นำมาใช้สร้างความสัมพันธ์กับบุคคลภายนอกองค์กร (ผู้บริโภค, ชุมชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล ฯลฯ) ก็คือ "การประชาสัมพันธ์" ถือเป็นการสื่อสารที่ช่วยในการเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับองค์กร ลดปัญหาความขัดแย้ง และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบประชามติ หรือความคิดเห็นของประชาชนกลุ่มต่างๆ ที่มีต่อองค์กรได้อีกด้วย
4. ความสำคัญต่อการปกครอง ไม่ว่าจะเป็นการปกครองในรูปแบบใดก็ตาม ย่อมจะต้องประกอบไปด้วยผู้ปกครองและผู้ถูกปกครองหรือประชาชน ดังนั้นการปกครองจะเป็นไปอย่างราบรื่น หรือเป็นไปในทางที่ดีได้ ทั้งผู้ปกครองและผู้ถูกปกครองจะต้องอาศัยการสื่อสารเข้ามาเป็นตัวช่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมในระบอบประชาธิปไตย การสื่อสารจะเป็นตัวสะท้อนให้ผู้ปกครองทราบว่าผู้ถูกปกครองต้องการอะไร อยากให้ผู้ปกครองทำอะไร นั่นคือความสำคัญต่อการปกครอง
5. ความสำคัญต่อการเมืองระหว่างประเทศ ในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และนโยบายการเมืองระหว่างประเทศต่างๆ จำเป็นต้องอาศัยกระทรวงการต่างประเทศ และสถานทูตต่างๆ เข้ามารับผิดชอบทางด้านการสื่อสารโดยตรง เพื่อทำหน้าที่เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับประเทศของตน สร้างความเข้าใจอันดีกับประเทศอื่น ตลอดจนชักจูงใจให้ได้รับความสนับสนุนจากประเทศอื่น และยังสามารถศึกษาถึงความรู้สึกนึกคิดของประชาชนในประเทศนั้นที่มีต่อประเทศของตนได้อีกด้วย ทั้งนี้โดยอาศัยสื่อชนิดต่างๆ เช่น สถานีวิทยุ VOA หรือ Voice of America ของสหรัฐอเมริกา หรือ สถานีวิทยุ BBC ของประเทศอังกฤษ เป็นต้น
+ วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
ในกระบวนการสื่อสารไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารในระดับใดก็ตาม ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารต่างก็มีวัตถุประสงค์ในการติดต่อสื่อสารที่เหมือนกันหรือแตกต่างกันก็ได้ เพราะฉะนั้นในการศึกษาเรื่องวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร เราจึงสามารถแยกออกได้เป็นวัตถุประสงค์ของผู้ส่งสารกับวัตถุประสงค์ของผู้รับสาร ถ้าวัตถุประสงค์ทั้ง 2 ฝ่ายเหมือนกัน หรือสอดคล้องกับผลของการสื่อสารในครั้งนั้นๆ จะสัมฤทธิ์ผลได้ง่าย ในทางตรงกันข้ามถ้าวัตถุประสงค์ของทั้ง 2 ฝ่ายไม่ตรงกัน ผู้รับสารอาจมีปฏิกิริยาต่อสารผิดไปจากความตั้งใจของผู้ส่งสารได้ ซึ่งจะทำให้การสื่อสารไม่บรรลุตามเป้าหมาย หรือตามเจตนารมณ์ของผู้ส่งสาร ทำให้การสื่อสารในครั้งนั้นๆ เกิดความล้มเหลว (Communication Breakdown)โดยปกติแล้วสามารถจะสรุปได้ว่าผู้ส่งสารและผู้รับสารมีวัตถุประสงค์ในการสื่อสาร ดังต่อไปนี้
วัตถุประสงค์ของผู้ส่งสาร
ในการทำการสื่อสารแต่ละครั้ง ผู้ส่งสารจะมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
1. เพื่อแจ้งให้ทราบ (Inform) หมายความว่า ในการทำการสื่อสารนั้นผู้ส่งสารมีความต้องการที่จะบอกกล่าวหรือชี้แจงข่าวสาร เรื่องราว เหตุการณ์ ข้อมูล หรือสิ่งอื่นใดให้ผู้รับสารได้รับสาร หรือเกิดความเข้าใจโดยอาจผ่านทางสื่อมวลชน หนังสือพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ ตัวอย่างเช่น หนังสือพิมพ์รายวันฉบับหนึ่งลงตีพิมพ์ข่าวสารเพื่อรายงานข่าวและเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นประจำวันไปให้ประชาชนได้รับทราบ เป็นต้น
2. เพื่อสอนหรือให้การศึกษา (Teach or Educate) หมายความว่า ผู้ส่งสารมีความต้องการที่จะสอนวิชาความรู้ หรือเรื่องราวที่เป็นวิชาการให้ผู้รับสารได้รับความรู้เพิ่มเติมจากเดิม เช่น วารสารเพื่อสุขภาพอนามัยก็จะมีการลงตีพิมพ์บทความต่างๆ ที่เกี่ยวกับการรักษาสุขภาพอนามัยให้แข็งแรง ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคภัยต่างๆ อาการที่เกิดขึ้นหรือวิธีการป้องกัน เป็นต้น
3. เพื่อสร้างความพอใจ หรือให้ความบันเทิง (Please or Entertain) หมายความว่า ในการสื่อสารนั้น ผู้ส่งสารมีความต้องการที่จะทำให้ผู้รับสารเกิดความรื่นเริงบันเทิงใจจากสารที่ตนเองส่งออกไป ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของการพูด การเขียน หรือการแสดงกิริยาท่าทาง ตัวอย่างเช่น นวนิยาย เพลง ละคร เกมโชว์ การแสดงคอนเสิร์ต เป็นต้น
4. เพื่อเสนอแนะหรือชักจูงใจ (Propose or Persuade) หมายความว่า ผู้ส่งสารได้เสนอแนะสิ่งใดสิ่งหนึ่งต่อผู้รับสาร และมีความต้องการชักจูงให้ผู้รับสารมีความคิดคล้อยตาม หรือยอมรับปฏิบัติตามการเสนอแนะของตน ตัวอย่างเช่น การโฆษณาสินค้าทางหน้าหนังสือพิมพ์ วิทยุ หรือทางโทรทัศน์ เป็นต้นส่วนใหญ่แล้วในกระบวนการสื่อสารมวลชนเราจะเห็นได้ว่า ผู้ส่งสารหรือตัวองค์กรสื่อต่างก็ดำเนินการโดยมีวัตถุประสงค์ครบทั้ง 4 อย่างข้างต้น
วัตถุประสงค์ของผู้รับสาร
โดยทั่วไปผู้รับสารจะมีวัตถุประสงค์หลักๆ ในการทำการสื่อสาร ดังนี้
1. เพื่อทราบ (Understand) ในการเข้าร่วมกิจกรรมทางการสื่อสารนั้น ผู้รับสารมีความต้องการที่จะทราบเรื่องราว ข้อมูล ข่าวสาร เหตุการณ์ หรือสิ่งอื่นๆ ที่มีผู้แจ้ง หรือรายงาน หรือชี้แจงให้ทราบ
2. เพื่อเรียนรู้ (Learn) หมายถึง การแสวงหาความรู้ของผู้รับสารจากสารที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับวิชาความรู้ และวิชาการ อันเป็นการหาความรู้เพิ่มเติม และเป็นการทำความเข้าใจกับเนื้อหาสาระในการสอนของผู้ส่งสาร
3. เพื่อความพอใจ (Enjoy) โดยปกติคนเรานั้น นอกจากจะต้องทราบข่าวคราว เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม และต้องการศึกษาเพื่อหาความรู้แล้ว ยังมีความต้องการในเรื่องความบันเทิงเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจด้วย เช่น ผู้รับสารอาจจะทำการสื่อสารด้วยการฟังเพลง ฟังละครวิทยุ อ่านหนังสือพิมพ์หน้าบันเทิง ชมรายการโทรทัศน์ หรือเกมโชว์ เป็นต้น
4. เพื่อกระทำ หรือตัดสินใจ (Dispose or Decide) หมายถึงว่า ในการตัดสินใจของคนนั้น มักจะได้รับการเสนอแนะ หรือชักจูงใจให้กระทำอย่างนั้น อย่างนี้ จากบุคคลอื่นอยู่เสมอ ดังนั้นทางเลือกในการตัดสินใจของคนเรานี้จึงขึ้นอยู่กับข้อเสนอแนะนั้นๆ ว่าจะมีความน่าเชื่อถือ และมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด นอกเหนือจากนี้แล้ว การตัดสินใจของคนเรายังต้องคำนึงถึง การรับข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ และความเชื่อของแต่ละบุคคลที่ได้สั่งสมกันมาด้วย